แนวทางการพัฒนามัคคุเทศก์: กรณีศึกษา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สุนิสา บุตรวิมัสฉา
ชุลีวรรณ ปราณีธรรม
ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์ และบุคลากรภาครัฐ ที่มีต่อบุคลากรสาขาอาชีพมัคคุเทศก์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนามัคคุเทศก์ในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างในเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 400 คน และกลุ่มตัวอย่างในเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว 5 คน มัคคุเทศก์ 10 คน และบุคลากรภาครัฐ 4 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ส่วนข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวมีความคิดเห็นว่าการพัฒนาอาชีพมัคคุเทศก์อยู่ในระดับควรพัฒนามาก โดยควรพัฒนาในด้านบุคลิกภาพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านทัศนคติ ด้านทักษะ และด้านความรู้ ตามลำดับ ทางด้านของมัคคุเทศก์เห็นว่าการพัฒนามัคคุเทศก์อยู่ในระดับควรพัฒนามากที่สุด โดยด้านทัศนคติมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านบุคลิกภาพ ด้านทักษะ และด้านความรู้ ตามลำดับ ส่วนบุคลากรภาครัฐเห็นว่า การพัฒนาอาชีพมัคคุเทศก์อยู่ในระดับควรพัฒนามากที่สุด โดยควรพัฒนาในด้านบุคลิกภาพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านทักษะ ด้านทัศนคติ และด้านความรู้ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2555). คู่มือมาตรฐานมัคคุเทศก์. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://thaits.org/tts_pr/มาตรฐานมัคคุเทศก์/.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2560 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด) (Domestic Tourism Statistics Q1-Q4 (Classify by region and province)) [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2561, จาก : https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=504&filename=index.
ชวิศร์ อรรถสาสน์, สิทธิโชค เลิศธีรดา และกรองแก้ว พู่พิทยาสถาพร. (2553). แนวทางการพัฒนามัคคุเทศก์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. วารสารศรีนครินทรนิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(1), 52-63.
พลอยระดา ภูมี, วรวัฒน์ ทิพจ้อย และณัฏฐนันธ์ สุวรรณวงก์. (2559). การเสริมสร้างศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหาร กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 4(2), 249-260.
พิมพา หิรัญกิตติ. (2552). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.
วันวิสาข์ หมื่นจง. (2560). ปัญหาในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการเป็นมัคคุเทศก์ของให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 (21 กรกฎาคม 2560) มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1213-1224.
สิทธิโชค เลิศธีรดา. (2551). แนวทางการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว: กรณีศึกษา อาชีพมัคคุเทศก์. สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรนิโรฒ.
สุคนธ์ทิพย์ รื่นเริงใจ และเฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. (2560). การศึกษาสภาพความต้องการการพัฒนากาลังคนอาชีวศึกษาสาขาอาชีพมัคคุเทศก์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED), 12(3), 372-386.
สุดารัตน์ หมวดอินทร์. (2560). ปัญหามัคคุเทศก์ไทยและข้อเสนอแนวทางแก้ปัญหา. กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สำนักกรรมาธิการ.
สุภาพร สุกสีเหลือง, ไสว รักษาชาติ และชวิศร์ อรรถสาสน์. (2552). แนวทางการพัฒนาศักยภาพ มัคคุเทศก์ทั่วไปอิสระเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. วารสารศรีนครินทรวิโวฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(2), 116-127.
อารีย์ นัยพินิจ, ภัทรพงษ์ เกริกสกุล และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คณะวิทยาการจัดการ, 7(1), 1-12.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.