การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียน ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว

Main Article Content

รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์
วริษฐา แก่นสานสันติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะอาชีพ หลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นทางด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นทางด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ จำนวน 163 คน โดยใช้แบบสอบถาม อีกทั้งผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 20 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนาทักษะอาชีพทางด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ ทักษะด้านการทำอาหาร ขนมและเครื่องดื่ม ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จะประกอบไปด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้างและเนื้อหา รูปแบบการจัดกิจกรรม สื่อการเรียนการสอน และการวัดผลการฝึกอบรม และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะก่อนไปทดลองใช้ ประกอบด้วย 6 หลักสูตร คือทักษะด้านการทำอาหาร ขนมและเครื่องดื่ม ได้แก่ หลักสูตรการทำอาหาร หลักสูตรการทำขนมอบ หลักสูตรการบริการอาหารและเครื่องดื่ม และหลักสูตรการทำซาลาเปา 5 สี ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ได้แก่ หลักสูตรการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ หลักสูตรการอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก หลักสูตรละ 20 - 30 คน จำนวน 12 ชั่วโมงต่อหลักสูตร โดยแบ่งเป็นภาคทฤษฎี 6 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 6 ชั่วโมง สร้างแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความจำเป็น 2) สร้างหลักสูตรตามองค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม สื่อ และวัดผลประเมินผล 3) ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) ทดลองใช้หลักสูตรและประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมหลังการฝึกอบรม และ    5) ปรับปรุงด้านเนื้อหา และภาษา แล้วจัดทำเป็นหลักสูตรฉบับสมบูรณ์สำหรับการนำไปใช้ในการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2561). คู่มือศูนย์เรียนรู้ชุมชน. สืบค้นจาก http://samutsakhon.cdd.go.th
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว. สืบค้นจาก http://tourismlearningcentre.tourismthailand.org/about.php
ขวัญกมล ดอนขวา. (2555). แบบจำลองการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสภาวะเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนในชุมชนชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี).
แขก มูลเดช. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์).
จีระ หงส์ลดารมภ์, พิชญ์ภูรี จันทรกมล, วราพร ชูภักดี, เขมิกา ถึงแก้วธนกุล และภัทรพร อันตะริกานนท์ (2557). การปฏิรูปประเทศไทยบนพื้นฐานของทุนแห่งความยั่งยืน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 1(2), 11-19.
จุฑามาส เพ็งโคนา เบญจมาศ ณ ทองแก้ว อำนาจ รักษาพล บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ และเทพินทร์ ภพทวี. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารสำ หรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(1), 38-51.
ชัชจริยา ใบลี ประกอบ ผลงาม และ อรทัย จิตไธสง. (2558). แผนพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารราชพฤกษ์ 13(3), 33-41.
ชาญ สวัสดิ์สาลี. (2550). คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ : การจัดดำเนินการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล.กรุงเทพมหานคร: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.
ปทุมพร วรธิติพงศ์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนเพื่อความยั่งยืน. (รายงาวิจัยฉบับสมบูรณ์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).
พรชัย กิตติชญาน์ธร. (2555). รูปแบบและขับเคลื่อนการบริหารศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด: ศึกษากรณีชุมชนธรณีคำ แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
ภูมี จันทะลังสี. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนสำหรับครูในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สังคมศาสตร์และภาษาลาว-วรรณคดี. (วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยบูรพา).
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา. (2560). ประวัติโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ ๔๘ พรรษา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สืบค้นเมื่อ เมษายน 2560, จาก https://www.clpk48.ac.th.
วิจิตร อาวะกุล. (2550). การฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชชุตา มาชู และปทิดา โมราศิลป์. (2560). การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ 13(2), 81-104.
วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร. (2553). ความต้องการศึกษาต่อระดับอนุปริญญาและหลักสูตรฝึกอบรมของชุมชนของจังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ. (2560). การบริหารงานคุณภาพในองค์กร หน่วยที่ 6 การฝึกอบรม. สืบค้น จาก https://sites.google.com/site/rtech603xx/unit-6.
ศาลินา บุญเกื้อ และนันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์. (2557). การถอดบทเรียนและวิเคราะห์อัตลักษณ์ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ).
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
สุรีย์ บุญญานุพงศ์ ใบชา วงศ์ตุ้ย และณัษฐพงศ์ วรรณวิจิตร. (2552). การบริหารจัดการชุมชนริมน้ำ : กรณีศึกษาชุมชนริมแม่น้ำปิง ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สุวาณี ดิเรกวัฒนะ. (2538). ทัศนคติของผูรับการฝกตอหลักสูตรเตรียมเขาทํางาน: ศึกษากรณี สถาบันพัฒนาฝมือแรงงานกลาง กรมพัฒนาฝมือแรงงาน. (ปริญญามหาบัณฑิต: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร).
สุวุฒิ วรวิทย์พินิต วรรณวีร์ บุญคุ้ม และนรินทร์ สังข์รักษา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้ วิถีเมืองเพชรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. Veridian E-Journal, 10(2), 1657-1674.

Becker, G. S. (1962). Investment in human capital: A theoretical analysis. Journal of Political Economy, 70, 9–49.
Buranawanna, N. (2008). Development of learning center on the production of microbial fertilizer for students of the two schools Wat Srapratum. (Master’s thesis: Naresuan University).
Cronbach, Lee Joseph. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper and Row.
Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. 4th ed. New York: McGraw-Hill Book.
Olaniyan, D.A. & Okemakinde, T. (2008). Human Capital Theory: Implications for Educa-tional Development. Pakistan Journal of Social Sciences, 5(5) 479-483.
Singh, S. (1997). Developing human resources for the tourism industry with reference to India. Tourism Management, 18(5). 299-306.
Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3th ed New york: Harper and Row Publication.