ทางรอดของการแข่งขันภายใต้น่านฟ้าและเส้นทางเดียวกัน

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตลดา ปิยะทัต

บทคัดย่อ

              ปัจจุบันการเดินทางด้วยเครื่องบินโดยสารเป็นการเดินทางที่สะดวกประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมากเนื่องจากมีหลายสายการบินให้เลือกหลากหลายเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้เดินทางโดยอาจแบ่งเป็นหลักตามธุรกิจคือ สายการบินบริการเต็มรูปแบบประเภท(Full service) มีบริการที่สะดวกครบครันสามารถเลือกชั้นที่นั่งได้ สายการบินประเภทต้นทุนต่ำ (Budget Low-cost หรือLow fare) หรือ สายการบินราคาประหยัดและสายการบินประเภทเอกลักษณ์เฉพาะตัว(Boutique)เน้นการเดินทางที่เป็นเส้นทางการบินใหม่ ไม่ซ้ำซ้อนกับใคร ในสภาวะการณ์ช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดนี้หลายสายการบินต้องอาศัยการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด เช่น การสร้างรูปแบบการให้บริการที่แตกต่างและหลากหลายเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกที่คู่แข่งขันไม่มีหรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมรวมไปถึงมีเส้นทางตารางการบินไปยังที่ใหม่ๆที่มีสนามบินรองรับ แต่อาจไม่ได้มีความถี่ของเที่ยวบินมากนักโดยเน้นจุดขายและแหล่งท่องเที่ยวปลายทางที่เป็นเอกลักษณ์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์และรูปแบบการดำเนินธุรกิจของธุรกิจสายการบินที่มีการแข่งขันสูงภายใต้เส้นทางการบินที่เหมือนหรือแตกต่างกันเช่นในกรณีที่เที่ยวบินที่อาจไม่มีการให้บริการตารางการบินไปยังจุดหมายปลายทางนั้นแต่แรกแต่มีแนวโน้มความต้องการในการท่องเที่ยวพื้นที่นั้นสูงและอาจเกิดจากข้อจำกัดที่บางสายการบินไม่มีเที่ยวบินไปยังสนามบินนั้นเนื่องจากขีดความสามารถของอากาศยานและฝูงบินในรุ่นที่มีอยู่ หากมีพันธมิตรทางการบินซึ่งสายการบินเองได้อยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแล้วสามารถแชร์เส้นทางการบินร่วมกันโดยนำเที่ยวบินลงจอดแล้วให้สายการบินพันธมิตรนำผู้โดยสารบินต่อแสดงให้เห็นถึงการร่วมมือทางธุรกิจและลดการขาดทุนขององค์กร

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ดาริน โชสูงเนิน. (2562). ลุ้นทางรอด "4หุ้นการบิน" ปรับทัพธุรกิจพยุงฐานะ. สืบค้น 11 ธันวาคม 2562.เข้าถึงจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/845721.
บริษัทการบินกรุงเทพ. (2560). FLY HIGH WITH PRIDE รายประจำปี 2560. สืบค้น 17 กันยายน 2562. จาก https://ba.listedcompany.com/misc/ar/20180327-ba-ar2017-th-
03.pdf
ปุญญภพ ตันติปิฎก. (2562). บทวิเคราะห์ (EIC Industry review) เรื่องTransport and Logistic Industry 2019: Air Transport). สืบค้น 25 กันยายน 2562. จาก
https://www.scbeic.com/th/detail/product/5827.
ปุญญภพ ตันติปิฎก. (2562). อนาคตธุรกิจการบิน : ผันผวน-ชะลอตัวและเต็มไปด้วยการแข่งขัน. สืบค้น 10 กันยายน 2562. จาก https://marketeeronline.co/archives/9901813.
ปริยา จุลกะรัตน์. (2561). ปรับรับ Digital Transformation “การบินไทย” พึ่งเทคโนโลยี ตอบโจทย์ Customer Journey.
สืบค้น10มิถุนายน2562.จากhttps://www.marketingoops.com/news/biz-news/digital-transformation-thai-airways/.
อุษณีย์ แสงสิงแก้ว. (2560). การบินไทย จับมือ บางกอกแอร์เวย์ส เปิดเที่ยวบินร่วม 15เส้นทาง. สืบค้น 22กรกฎาคม 2562. จากhttps://www.thairath.co.th/news/business/market-
business/910126.
Garret Moon. (2014). Want To Make Your Blog Stand Out? Use The Blue Ocean Strategy. From https://coschedule.com/blog/blue-ocean-strategy/.
W. Chan Kim and Renée Mauborgne. (2005). Blue Ocean Strategy: How to Create Uncontested Market Space and Make Competition Irrelevant. Boston,
Massachusetts: Harvard Business Review Press.