ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา จังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

นางสาวชิดชม กันจุฬา

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาจังหวัดอ่างทอง จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และภูมิลำเนา ซึ่งมีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษาจังหวัดอ่างทอง จำนวน 7 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษาจังหวัดอ่างทอง จำนวน 400 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับได้เท่ากับ 0.753 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที แบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบเอฟ ซึ่งเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่


               ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาจังหวัดอ่างทองผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ผู้ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว การนำผลการวิจัยไปใช้ควรประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของการท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัด ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งต่อไป      ควรวิจัยแนวทางการกำหนดนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ควรวิจัยความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวในเมืองรองเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ นุชแสงพลี. (2553). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. ปัญหาพิเศษ ปริญญา
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2562.สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562.จากเว็บไซต์ https://www.mots.go.th/
more_news_new.php?cid=525
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การวิเคราะห์สถิติ:สถิติเพื่อการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). อัพเดต เทรนด์ ท่องเที่ยว ‘เมืองรอง’ เมื่อผู้คนเริ่มถวิลหาประสบการณ์ใหม่. นิตยสารเข็มทิศท่องเที่ยวไตรมาส 4/2561.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ฉัตยาพร เสมอใจ และฐิตินันท์ วารีวนิช. (2551). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
บำรุง สังข์ขาว. (2554). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวด้านปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ามาท่องเที่ยว ในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ปัญหาพิเศษ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรางค์ทอง แดงอร่าม. (2550). ปัจจัยในการตัดสินใจในการเลือกมาท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี. สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
รัตติยา จ้อยชะรัตน์. (2552). ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของบริการธุรกิจนำเที่ยวของนักท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. งานนิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหา
บัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศรัณพร ชวนเกริกกุล. (2561). กลยุทธ์การยกระดับการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองรองจังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัย
สยาม.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
สุดาพร กุณฑบุตร. (2552). หลักการตลาด (สมัยใหม่). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล คงพรหม. (2557). ปัจจัยที่สำคัญต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในด้านส่วนประสมทางการตลาด. สาร
นิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สำนักงานจังหวัดอ่างทอง. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดอ่างทอง. อ่างทอง : ม.ป.ท.
อดุลย์ จาตุรงคกุล.(2542). การบริหารการตลาด : กลยุทธ์และยุทธวิธี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Dickman S. (1996). Tourism: An Introductory Text. 2nd ed Sydney : Hodder Education.
Kotler and Keller. (2016). Marketing Management. 15th ed Edinburgh: Pearson Education.
Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Rob Publications.