วัฒนธรรมไทยร่วมสมัย “แลเงา เชาว์ตะลุง”

Main Article Content

พนิดา เทพดำ
สุทธิดา ศุภโสภณ
ศรัฐ สิมศิริ

บทคัดย่อ

         ปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจกับสื่อบันเทิงสมัยใหม่มากขึ้น ส่งผลให้หนังตะลุงซึ่งเป็นสื่อบันเทิงทางศิลปวัฒนธรรมที่เก่าแก่กำลังจะเลือนหายไป หากมีวิธีที่จะประยุกต์หนังตะลุงให้มีความร่วมสมัยและตรงกับความต้องการของคนในยุคปัจจุบันนั้น จะไม่ใช่แค่เพียงอนุรักษ์ไว้แต่จะทำให้หนังตะลุงเป็นที่รู้จักในวงกว้าง “แลเงา เชาว์ตะลุง” จึงถูกนำเสนอในรูปแบบนิทรรศการกึ่งเทศกาล นำเสนอความหลากหลายเกี่ยวกับหนังตะลุง อาทิ ประวัติความเป็นมา ตำนาน เรื่องเล่า ตัวละคร เทคนิคการแสดง กรรมวิธีการผลิตตัวหนัง เริ่มจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหนังตะลุง พร้อมกันนี้ศึกษาหลักการจัดนิทรรศการและงานแสดง จัดทำกรอบแนวคิดในการจัดงานเพื่อสร้างรูปแบบนิทรรศการและงานแสดง ที่มีกิจกรรมลงปฏิบัติงาน สาธิตการฉลุและลงสีหนังตะลุง โดยให้ผู้ร่วมงานได้สัมผัสของจริง ในแต่ละพื้นที่ของงานได้คำนึงถึงรูปแบบของการออกแบบงานให้มีความร่วมสมัยและมีความน่าสนใจ การตกแต่งพื้นที่นิทรรศการนั้นได้ถูกออกแบบในรูปแบบแกลอรี่ เรียบง่าย สบายตา สะอาด โดยสีที่ใช้ในงานจะเป็นสีขาว สีส้ม และสีดำ ซึ่งเป็นตัวแทนของสีที่ใช้ประกอบในตัวหนังตะลุง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงวัฒนธรรม.(2559). หนังตะลุงหนังอิ่มเท่ง. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2563. จาก https://www.m-culture.go.th/songkhla/ewt_news.php?nid=446&filename=index

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). “หนังตะลุง” คุณค่าของศิลปะประจำถิ่น. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563. จากhttps://www.bangkokbiznews.com/news/detail/762365

ชวน เพชรแก้ว. (2548). หนังตะลุงในประเทศไทย. สุราษฎร์ธานี : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ธงชัย สมบูรณ์. (2560). โลกหลังยุคใหม่ อนาคตทางการศึกษาและปัญญาของชาติ. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_783896

สุกรี เกษรเกศรา. (2559). ส่องแสงแลเงาอดีตที่ทอดยาวถึงปัจจุบันสู่การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะวิจิตรศิลป์, สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2524). เอกลักษณ์ของของดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ : เจ้าแห่งจังหวะ ในดนตรีพื้นเมืองภาคใต้. สงขลา: สถาบันทักษิณดีศึกษา.