การอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมโลหะขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Main Article Content

เสาวรส เชิดชู
เตชิตา ภัทรศร
ถิรพร แสงพิรุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศิลปหัตถกรรมโลหะขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 2) เพื่ออนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมโลหะขันลงหินเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือวิจัยด้วยการสัมภาษณ์ช่างหัตถศิลป์ ในพื้นที่ชุมชนบ้านบุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่าศิลปหัตถกรรมโลหะขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ มีการสืบทอดขั้นตอนและกระบวนการจัดทำโลหะขันลงหินมาอย่างยาวนาน โดยลวดลายบนโลหะขันลงหิน ส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายโบราณ ลายกนก และลายมะลิวัลย์     ส่วนใหญ่นิยมทำเป็นขันไว้สำหรับดื่มน้ำ เนื่องจากเก็บความเย็นได้เป็นอย่างดี และยังมีผลิตภัณฑ์จากโลหะขันลงหินหลายชนิด เช่น ถาดรอง พาน โถข้าว เป็นต้น แต่ปัจจุบันผู้ที่สืบทอดงานศิลปหัตถกรรมโลหะขันลงหิน ในชุมชนบ้านบุ กำลังจะถูกลบเลือนและอาจจะถูกลืมไปในที่สุด เพราะส่วนใหญ่เปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นที่ได้รับผลตอบแทนที่มากกว่า แนวทางการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมโลหะขันลงหินนั้น หน่วยงานภาครัฐควรดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมขันลงหิน โดยบูรณาการร่วมกับการท่องเที่ยว อันจะเป็นการเผยแพร่ศิลปหัตถกรรมโลหะขันลงหินให้เป็นที่รู้จัก สร้างคุณค่าของศิลปหัตถกรรมโลหะขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ให้สืบทอดและคงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). ขันลงหินบ้านบุ. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2563. จาก http://123.242.145.13/

album/view/166526/

ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง. (2558). การอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาการผลิตโคมล้านนาของชุมชน เมืองสาตร ตําบลหนองหอย อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สำนักงานเขตบางกอกน้อย. (2552). การท่องเที่ยวเขตบางกอกน้อย. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2563. จาก https://webportal.bangkok.go.th/bangkoknoi

สุชาติ สุขนา. (ม.ป.ป.). ศิลปะแบบประเพณีอีสาน – ศิลปหัตถกรรมอีสาน. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563. จาก https://fineart.msu.ac.th/edocuments/myfile

สักรินทร์ อินทรวงศ์, เกรียงศักดิ์ เขียวมั่น และศักดิ์ชาย สิกขา. (2558). ศิลปหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว: การอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาหัตถกรรมชุมชน. วารสารศิลปกรรมสาร, 10(1), 163-192.