แนวทางการออกแบบอาคารที่พักอาศัยที่สะท้อนวิถีชีวิตและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ : กรณีศึกษา homestay ในอาณาบริเวณทะเลสาป ฮาลาบาลา ถึง อ.เบตง จ.ยะลา

Main Article Content

ขวัญรัตน์ จินดา
นุชนภางค์ แก้วนิล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่ส่งผลต่อจุดเด่นของ Homestay จังหวัดยะลา และตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้ใช้บริการ เพื่อเสนอแนวทางการออกแบบอาคารที่พักอาศัย ที่สะท้อนวิถีชีวิตและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น จังหวัดยะลา โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล จากนักท่องเที่ยว รวมทั้งสิ้น 108 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่สะท้อนเอกลักษณ์ของจังหวัดยะลาและความชอบส่วนบุคคลของกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีการรับรู้ที่สอดคล้องกันระหว่างการแสดงสะท้อนถึงเอกลักษณ์พื้นถิ่นและความชอบส่วนบุคคล ของรูปแบบอาคารด้านต่างๆ  วัสดุอาคารด้านต่างๆ และการจัดผังพื้น ยกเว้น ประเด็นรูปแบบฝ้าเพดาน ที่พบว่ารูปแบบฝ้าเพดานแบบเปิดโล่งนั้น เป็นตัวแทนด้านเอกลักษณ์ของจังหวัดยะลาในลำดับที่ 1 นอกจากผลสรุปของการศึกษาลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่จะก่อให้เกิดจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแล้วนั้น หากได้ศึกษาการออกแบบสภาพแวดล้อม ที่ตั้งและรูปแบบการให้บริการของ Homestay ร่วมด้วยในการวิจัยครั้งต่อไป จะนำมาซึ่งความเข้าใจที่ถูกต้องของนักท่องเที่ยวที่มีต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนได้อย่างแท้จริงตามเป้าหมายของการจัดการท่องเที่ยวแบบ Homestay ในจังหวัดยะลา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดยะลา. (2555). แผนพัฒนาจังหวัดยะลา 4 ปี (พ.ศ. 2557 - 2560). สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2563. จาก http://www.yala.go.th/content/plan.php.
งานประชาสัมพันธ์ กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเบตง. (2542). ชมเมือง..เล่าเรื่องเบตง. ยะลา: สำนักงานเทศบาลตำบลเบตง.
เจนยุทธ ล่อใจ, อรศิริ ปาณินท์ และเกรียงไกร เกิดศิริ. (2558). คุณลักษณะของที่ว่างทางสถาปัตยกรรมในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น: แนวทางการศึกษาสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม. 2(2), 61-78.
ชูเกียรติ แซ่ตั้ง. (2550). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ ในบริบทแห่งขุนเขาและสายหมอก กรณีศึกษา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
วรากรณ์ ใจน้อย, ชูพักตร์ สุทธิสา และเสาวภา สุขประเสริฐ. (2555). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ เขตเทศบาลตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. 7(22), 109-121
วินัย หมั่นคติธรรม. (2553). การวิเคราะห์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นกรณีศึกษา: อาคารที่พักแบบโฮมสเตย์ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยและพัฒนา. 2(1), 4-13.
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดยะลา. (2548). ผังเมืองรวมเมืองเบตง (ปรับปรุงครั้งที่ 2). สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2563. จาก http://oldpvnweb.dpt.go.th/yala/