การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีนกลางของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ธุรกิจการบิน ในกิจกรรมโครงการของสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี

Main Article Content

ธนาภรณ์ โคตรพัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีนกลาง โดยใช้กิจกรรมในโครงการของ สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะด้านการฟังและการพูด ภาษาจีนกลางช่วงก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมโครงการของสถาบันขงจื่อ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมในโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาธุรกิจการบิน ที่ลงทะเบียนรายวิชา ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน เก็บรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดระดับทักษะการฟัง การพูดภาษาจีนกลาง และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษาคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และpair sample t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 77.15 ได้เข้าร่วมโครงการและมีผลสัมฤทธิ์ทักษะการฟังและการพูด สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในโครงการที่ระดับค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 มีระดับความคิดเห็นเรื่องความมั่นใจในการสื่อสารภาษาจีนกลางมากขึ้น สูงที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 รองลงมาคือการออกแบบและจัดกิจกรรมการสอนช่วยพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของผู้เรียน และมีความน่าสนใจ สนุกสนาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และ 4.60 ตามลำดับ โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับเพิ่มเติมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพธุรกิจการบินเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดวงเดือน แสงชัย. (2533). การสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

จาตุรนต์ ฉายแสง. (2557). รายงานความก้าวหน้าของการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. สืบค้น 25 ตุลาคม 2562, จาก https:// /kruoiysmarteng.blogspot.com/2016108/ btogpost 30.htmt?m=1

นฤมล บุญส่ง. (2561). สื่อสังคมกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 11(1), 2873-2885.

ผู้จัดการออนไลน์. (2561). “จ๊อบไทย” อัปเดตดีมานด์งานที่น่าสนใจปี 62 ชี้ “ภาษาต่างประเทศ” ทุกสายงานต้องการ. สืบค้น 25 ธันวาคม 2561, จาก https://mgronline.com/smes/detail/9610000127605

พรพิมล ริยาย และ ธนางกูร ขำศรี. (2553). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยนอร์ท–เชียงใหม่.

ภูเทพ ประภากร. (2559). การศึกษาการใช้ไวยากรณ์ภาษาจีนกลางของผู้เรียนชาวไทย กรณีศึกษาการใช้คำคุณศัพท์ที่อยู่ในรูปคำซ้ำ. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 13-22.

เยาวพร ศรีระษา และ จิระพร ชะโน. (2561). การจัดกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร CLT ประกอบชุดสื่อประสมเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการวัดผลการศึกษา, 24(1), 243-254.

วัฒนา ประสานทอง และ เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์. (2560). การศึกษาประสบการณ์ในการเรียนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(1), 32-41.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). K SME Analysis จับชีพจรนักท่องเที่ยวต่างชาติ ปี 62. กรุงเทพฯ: ธนาคารกสิกรไทย.

หทัยรัตน์ เติมใจ. (2552). การพัฒนาสื่อการสอนวิชาภาษาจีนด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เรียนภาษาจีนระดับกลาง (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัญชลิการ์ ขันติ สมเกียรติ อินทสิงห์ และ สุนทรี คนเที่ยง. (2562). แนวทางการพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 3(1), 34-41.

อวี่หนิง หยาง และ ชิดชไม วิสุตกุล. (2563). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดคำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 (น.1831). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

Byrne, B.M. (1986). Self-Concept/Academic Achievement Relations: An Investigation of Dimensionality, Stability, and Causality. Canadian Journal of Behavioral Science, 18(2), 173-186.

Clark, J.L.D. (1972). Foreign language testing: Theory and practice. Philadelphia, PA: Center for Curriculum Development, Inc.

Flowerdew, J. & Miller, L. (2005). Second language listening: Theory and practice . Cambridge: Cambridge University Press.

Nation, I.S.P. & Newton, J. (2009). Teaching ESL/EFL Speaking and Listening. New York: Routledge.

Ruan, J. & Medwell, J.(2020). Using social networking technology to develop intercultural communicative competence: a case of GCSE Mandarin. Innovation in Language Learning and Teaching, 14(4), 362-392.

Stammer, J.D. (1977). Target: The Basics of Listening. Language Arts, 54(6), 661-664.