การศึกษาความต้องการด้านการบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดตาก 2) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดตาก 3) ศึกษาความต้องการในการรับบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดตาก และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลทั่วไปกับพฤติกรรมการเดินทางเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้วยวิธีสุ่มแบบบังเอิญจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่นักท่องเที่ยวสนใจ ได้แก่ การไหว้พระทำบุญ การรับประทานอาหารพื้นเมืองประจำถิ่น การนวดแผนไทย การเสริมความงาม โดยเป็นการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ คาดหวังค่าใช้จ่ายต่อครั้งไม่เกิน 10,000 บาท มีการสืบค้นข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวจากคนรู้จักเป็นหลัก นิยมเดินทางท่องเที่ยวกับครอบครัวและเพื่อนด้วยรถยนต์ส่วนตัว และพบว่านักท่องเที่ยวมีความต้องการในการรับบริการในด้านที่พัก ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านบุคลากร ด้านระบบคมนาคมและด้านอาหารและเครื่องดื่ม อยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่า ข้อมูลทั่วไปในด้านช่วงอายุ วุฒิการศึกษาสูงสุด อาชีพ โรคประจำตัว และระดับความสนใจสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยว การศึกษานี้ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยว พฤติกรรมการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และความต้องการในการรับบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดตาก ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดตาก เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับนักท่องเที่ยวและตอบโจทย์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงในระดับพื้นที่ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). Executive Summary สถานการณ์การท่องเที่ยวเดือนตุลาคม 2564. กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา.
ชัยธวัช ศิริบวรพิทักษ์. (2564). ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทยจังหวัดมหาสารคาม. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 59 (น. 288-302). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยนันต์ ไชยเสน. (2562). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและนวัตกรรมการพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(5), 262-282.
ทัชชญา ทรงอิทธิสุข. (2560). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จากมุมมองของนักท่องเที่ยว : กรณีศึกษาอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
นัทธ์หทัย เถาตระกูล, และ ภัทรพรรณ วรรณลักษณ์. (2563). การตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(2), 72-83.
นันทพรรณ พูลอ่ำ. (2565). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. สืบค้น 22 มิถุนายน 2565, จาก https://sites.google.com/site/456556123456asdf/kar-thxng-theiyw-cheing-sukhphaph
ปรีดา ศรีเมฆ. (2560). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. (ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์. (2560). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. สืบค้น 19 กรกฎาคม 2565, จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/WNRPT6012070010002
ไพศาล กาญจนวงศ์. (2565). นิเทศศาสตร์กับการท่องเที่ยว. สืบค้น 25 มิถุนายน 2565, จาก http://lms.mju.ac.th/courses/631/locker/content/%E0%B8%9E%E0%B8%97%20335/td335/chapter1/chapter1_1.htm
โพสต์ทูเดย์. (2562). ทำความรู้จัก “เมืองรอง” คืออะไร และ 55 จังหวัดน่าไปมีที่ไหนบ้าง. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.taklocal.org/webboard_obt.php?hd=3
ภคินี วัชรปรีดา. (2559). แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนในจังหวัดนครพนม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 13: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภูพฤทธิ์ กันนะ, และ จอมภัค คลังระหัด. (2560). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 8 (RMUTCON 2017). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.
มนไท เหรัญญะ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชาวไทยผู้ที่สนใจท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาระศาสตร์, 4(3), 664-677.
รุ่งฟ้า สะแกกลาง. (2561). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.
ลัดณา ศรีอัมพรเอกกุล. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวระดับเมืองรองเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุคุณภาพ. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
วุฒิชาติ สุนทรสมัย, และ ปิยะพร ธรรมชาติ. (2559). รูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพของจังหวัดปราจีนบุรีเพื่อการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), 167-181.
วิกิพีเดีย. (2565). จังหวัดตาก. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดตาก
สุฎาวรรณ สุวรรณสิงห์. (2561). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการใช้บริการ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism). (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.
สำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดตาก. (2565). คำขวัญประจำจังหวัดตาก. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.posttoday.com/life/travel/587425