รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านสวนปราง

Main Article Content

สิญาธร นาคพิน
ยกสมน เจ๊ะเฮง
สิทธิพรรณ ชิตินทร
ธนาวิทย์ บัวฝ้าย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชนบ้านสวนปราง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น ชาวบ้าน และกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน ใช้การอภิปรายกลุ่มแบบกึ่งโครงสร้าง เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ซึ่งผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่ารูปการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชนบ้านสวนปราง ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ศักยภาพและความพร้อมของชุมชนทั้งในแง่ขององค์ประกอบการท่องเที่ยว (4A) และการจัดการการท่องเที่ยว (2M2S) 2) การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย 3) การพัฒนาองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย การพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงผจญภัย การพัฒนาที่พักแรม การพัฒนาอาหารพื้นถิ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย และ 4) การปฏิบัติและประเมินผล ผลการวิจัยจะเกิดประโยชน์ต่อ“ท่องเที่ยวโดยชุมชน” ในการพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวให้แตกต่างอย่างสร้างสรรค์และเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวหรือผู้เยี่ยมเยือนได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กมลชนก จันทร์เกต. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา. (การค้นคว้าอิสระ, ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2563). วิสาหกิจชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก. สืบค้นจาก https://www.bangkokbank sme.com/en/community-otop

ปฤณฑร กิ่งทอง. (2559). ความคาดหวังกับการรับรู้เกี่ยวกับภาพลักษณ์สถานที่ท่องเที่ยวเชิงผจญภัย กรณีศึกษา:จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์, ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร, กรุงเทพมหานคร.

ปฤณัต นัจนฤตย์. (2560). การพัฒนาหลักการออกแบบรูปลักษณ์อาหารแบบพอดีคำ บนฐานหลักการทางศิลปะ และทัศนศิลปธาตุ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(2), 1561-1576.

รสมารินทร์ อรุโณทัยพิพัฒน์, และ พรเทพ ดิษยบุตร. (2560). คุณลักษณะของที่พักแรมที่เป็นมิตรกับจักรยาน ตามความต้องการของนักปั่นจักรยานทางไกลเพื่อการท่องเที่ยว. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(2), 1476-1487.

วรวุฒิ ภักดีบุรุษ. (2563). ปัญหาและศักยภาพของการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชน ของบ้านดอนซาก ตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. วารสารพัฒนศาสตร์, 3(1), 40-67.

วรากร คำปลิว, บังอร ฉัตรรุ่งเรือง, และ ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวแบบผจญภัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 12(2), 139-148.

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2562). โครงสร้างของระบบการท่องเที่ยว. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 14(1), 94-102.

วิโรจน์ นาคแท้, อุทิศ กุฎอินทร์, และ ดรรชนี เอมพันธุ์. (2557). การประเมินศักยภาพทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแบบมีส่วนร่วมบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ําเขื่อนรัชชประภา ในอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยสังคม, 37 (1), 125-150.

อัตตนาถ ยกขุน. (2564). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 21(2).60-72.

เอกสารอ้างอิง (ภาษาอังกฤษ)

Dodds, R., Ali, A., & Galaski, K. (2018). Mobilizing knowledge: Determining key elements for success and pitfalls in developing community-based tourism. Current Issues in Tourism, 21(13), 1547-1568.

Getz, D., & Page, S. J. (2016). Progress and prospects for event tourism research. Tourism Management, 52, 593-631. DOI:10.1016/j.tourman.2015.03.007

Giddy, J.K. & Webb, N. L. (2016). The influence of the environment on adventure tourism: from motivations to experiences. Current Issues in Tourism, 1-15. doi:10.1080/13683500.2016. 1245715

Hudson, S., & Ritchie, B. (2002). Understanding the domestic market using cluster analysis: A case study of the marketing efforts of Travel Alberta. Journal of Vacation Marketing, 8(3), 263-276.

Janowski, I., Gardiner, S., & Kwek, A. (2021). Dimensions of adventure tourism. Tourism Management Perspectives, 37, 100776.

Lenao, M. (2015). Challenges facing community-based cultural tourism development at Lekhubu Island, Botswana: A comparative analysis. Current issues in tourism, 18(6), 579-594.

Lu, W. & Stepchenkova, S. (2012). Ecotourism experiences reported online: Classification of satisfaction attributes. Tourism Management, 33(3), 702–712.

Pathumporn, J. (2012). Community-based heritage tourism (CBHT): A key success factor for cultural heritage conservation or threat? A case study of Phuthai villages in Northeast Thailand. International Journal of Culture and Tourism Research, 5(1), 25-38.

Roche, S., Spake, D. F., & Joseph, M. (2013). A model of sporting event tourism as economic development. Sport, Business and Management: An International Journal, 3(2), 147-157.