แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารบนฐานทุนทางวัฒนธรรมจีนตรอกเจริญไชย เยาวราช

Main Article Content

นวลพรรณ วงษ์สอาด
นรินทร์ สังข์รักษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การปัจจุบันและปัญหา/อุปสรรคของการท่องเที่ยวเชิงอาหารบนฐานทุนทางวัฒนธรรมจีน 2)เสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารบนฐานทุนทางวัฒนธรรมจีนตรอกเจริญไชย เยาวราช กรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในย่านเยาวราช จำนวน 15 ราย ใช้การเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การปัจจุบันของการท่องเที่ยวเชิงอาหารบนฐานทุนทางวัฒนธรรมจีนมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวไปจากอดีตที่ผู้ประกอบการมีการปรับเปลี่ยนวิธีการจำหน่ายอาหารให้เหมาะสมกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปปัญหา/อุปสรรคของการท่องเที่ยวเชิงอาหารเป็นผลมาจากผู้คนทั่วไปรู้จักตรอกเจริญไชยน้อยลง ไม่ได้รู้จักตรอกเจริญไชยเหมือนดั่งคนรุ่นเก่า และไม่ทราบว่าตรอกเจริญไชยเป็นพื้นที่ประเภทใดและมีสิ่งที่น่าสนใจมากน้อยเพียงใด 2) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารบนฐานทุนทางวัฒนธรรมจีน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน พื้นที่ควรมีการส่งเสริมกิจกรรม เส้นทาง รวมถึงเป็นสื่อกลางในการเร่งรัดการจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักทั้งในแง่ของอาหารเชิงวัฒนธรรมจีน วิถีชีวิตให้มีกลิ่นอายของความเป็นคนไทยเชื้อสายจีนเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร จุลศิลป์.(2561).กลยุทธ์การจัดการการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา(ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต)สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.(2560).แนวทางการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ:กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

กิตติ โล่เพชรัตน์.(2554).ตำนานลูกหลานจีนในสยาม.ก้าวแรกพับลิชชิ่ง:กรุงเทพฯ.

กิตติ์ธเนศ จิระวุฒิพันธุ์. (2559).การกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม จีนในประเทศไทย:กรณีศึกษาหมู่บ้านสันติคีรี ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะศิลปศาสตร์.

กุลแก้ว คล้ายแก้ว ภัทริศร์ ถนอมสิงห์ เเละรพีพงศ์ อินต๊ะสืบ.(2566).ท่องเที่ยวเชิงอาหาร :ศักยภาพและการพัฒนาโมเดลการจัดการท่องเที่ยวโดยเครือข่ายชุมชนบ้านไม้ขาว เชื่อมโยงภูเก็ตเมืองมรดกโลกเมืองสร้างสรรค์วิทยาการอาหาร. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 8(4), 83-94.

พิพัฒน์ ยอดพฤติการ.(2564).เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.สืบค้น 30 มกราคม 2565, จาก https://www.prachachat.net/csr-hr/news-604476

รจนา จันทรสา และภานุ ศิริพงศ์ไพโรจน์.(2552).การนำเอกลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อประยุกต์ใช้กับบรรจุภัณฑ์เซรามิกส์สำหรับบรรจุขนมหวานไทย. สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สริตา พันธ์เทียน ทรงคุณ จันทจร เเละมาริสา โกเศยะโยธิน.(2561).การท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย :แนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการจัดการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลางโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,5(2),184-195.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2552).รายงานการศึกษาเบื้องต้น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ The Creative Economy. กรุงเทพฯ: บี.ซี.เพรส (บุญชิน).

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.(2563).BCG in Action:สาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์. สืบค้น 25 ธันวาคม 2564.จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/bcg/bcg-in-action-tourism-creative-economy-01.pdf

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์.(2558).องค์ความรู้ ว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์:คู่มือ และแนวทางปฏิบัติ.กรุงเทพฯ:องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

Aydoğdu, A., OKAY, E. Ö., & KÖSE, Z. C.(2016).Destinasyon tercihinde gastronomi turizmi'nin önemi: Bozcaada örneği. Uluslararası Türk Dünyası Turizm Araştırmaları Dergisi, 1(2), 120-132.

Bourdieu, P.(1984).A social critique of the judgement of taste. Traducido del francés por R. Nice. Londres, Routledge.

Hall, C. M.(2019).Constructing sustainable tourism development: The 2030 agenda and the managerial ecology of sustainable tourism. Journal of Sustainable Tourism, 27(7), 1044-1060.

Kivela, J., & Crotts, J. C. (2006). Tourism and gastronomy: Gastronomy's influence on how tourists experience a destination. Journal of hospitality & tourism research, 30(3), 354-377.

Kotler, P., Armstrong, G., Ang, S. H., Leong, S. M., Tan, C. T., & Ho-Ming, O. (2012). Principles of marketing: an Asian perspective. Pearson/Prentice-Hall.

Tikkanen, I.(2007), "Maslow's hierarchy and food tourism in Finland: five cases", British Food Journal, Vol. 109 No. 9,pp.721-734.

UNWTO.(2017).Second Global Report on Gastronomy Tourism. Retrieved January 29, 2022, from https://www.e- unwto.org/doi/pdf/ 10.18111/9789284419029