การท่องเที่ยวแกลมปิ้ง : มิติใหม่ของการพัฒนาการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19

Main Article Content

กุลแก้ว คล้ายแก้ว
คณิต เขียววิชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ ที่มา นิยาม ความหมายและแนวคิดของการท่องเที่ยวแกลมปิ้งสู่มิติใหม่ของการพัฒนาการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 ด้วยองค์ความรู้ในการจัดการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ ต่อเนื่อง สมดุล ปลอดภัยและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) การท่องเที่ยวแกลมปิ้ง เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต คำว่า แกลมปิ้ง มาจากคำว่า Glamorous หมายถึง ความหรูหรา ผสมกับคำว่า Camping ที่หมายถึง ที่พักแบบกางเต็นท์ ทว่าเมื่อนำคำสองคำมารวมกันจึงได้คำใหม่ที่เรียกว่า “Glamping” และอ่านได้ว่า “แกลมปิ้ง” หมายถึง ที่พักเต็นท์กระโจม ที่มีการตกแต่งอย่างหรูหรา ภายในมีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้บริการ เมื่อนำมาผสมกับคำว่า การท่องเที่ยว (Tourism) ทำให้มีคำใหม่เกิดขึ้นที่ใช้นิยมกันอย่างแพร่หลายและใช้ว่า การท่องเที่ยวแกลมปิ้ง (Glamping Tourism or Glamping in Tourism) ซึ่งมีลักษณะมุ่งเน้นให้บริการที่พักแรมโดยอยู่บนพื้นฐานการจัดการเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวทุกลุ่มทุกวัย ร่วมกับการใช้ฐานทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมาเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว ปัจจุบันแกลมปิ้งมีหลากหลายประเภทให้นักท่องเที่ยวได้เลือกใช้บริการ ในช่วงแรกแกลมปิ้งเริ่มต้นขึ้น เมื่อประมาณ ค.ศ.1100 ถูกใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราวของชาวมองโกล ซึ่งสามารถถอดและประกอบได้ เคลื่อนย้ายไปมาได้อย่างสะดวก ต่อมาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่พักแรมชั่วคราวในสงคราม เป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงรับรองทางการทูตและการเมือง เป็นที่พักแรมสำหรับกิจกรรมสันทนาการล่าสัตว์ป่า รวมถึงเป็นที่พักแรมชั่วคราวในการเดินทางของกลุ่มชาวมุสลิมอิหร่านและชาวมุสลิมออตโตมัน และในท้ายที่สุดได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบในทวีปแอฟริกา แกลมปิ้งไม่เพียงแต่เป็นที่พักแรมเท่านั้นแต่ยังเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่สะท้อนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านกระบวนทัศน์ใหม่ในพัฒนาการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้เป็นที่พักแนวใหม่สู่สายตานักท่องเที่ยวจึงทำให้แกลมปิ้งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและแพร่หลายไปทั่วโลก


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

กิติมา อมรทัต. (2547). ศิลปะเปอร์เซีย. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.

กุลแก้ว คล้ายแก้ว. (2558). หลักการมัคคุเทศก์. พิษณุโลก: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

กุลแก้ว คล้ายแก้ว. (2564). การท่องเที่ยวแกลมปิ้ง: ศักยภาพและแนวทางการจัดการแบบนิวนอร์มัลของผู้ประกอบการบนพื้นที่เขาค้อในฐานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย. พิษณุโลก: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). ประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่องหลักเกณฑ์คุณภาพที่พักนักเดินทาง. สืบค้นจาก https://uttaradit.mots.go.th/download/article/article_20191025115548.pdf

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). มาตรฐาน SHA และมาตรการ Test & Go. สืบค้นจาก https://thailandsha.tourismthailand.org

คณะกรรมการสถิติสาขาการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). แผนพัฒนาสถิติสาขาการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 1 พ.ศ.2556-2558. สืบค้นจาก http://osthailand.nic.go.th/files/economic_sector/8.tourist.pdf

คอสมอส. (2560). บันทึกโลก ฉบับรวมเล่ม 1-2. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นจาก https://dictionary.orst.go.th

สุรางคณา ศรีสุทธิ. (2563). แผนธุรกิจ Home Camping ธุรกิจแกลมปิ้ง และแคมป์ปิ้ง Business Plan for Home Camping (Glamping & Camping Business). กรงุเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรี. (2564). แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรมและโรงแรม ปี พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นจาก www.krungsri.or.th

เอกสารอ้างอิง (ภาษาอังกฤษ)

Adamovich, V., & Nadda, V. (2020). Quality Issues In Glamping Tourism From Providers Perspective In The UK. International Journal of Entrepreneurship, Management, Innovation and Development (IJEMID).4(1), 99-115.

Brochado, A., & Brochado, F. (2019). What makes a glamping experience Great? . Journal of Hospitality and Tourism Technology, 10(1), 15-27.

Brooker, E., & Joppe, M. (2013). Trends in camping and outdoor hospitality – An international overview. Journal of Outdoor Recreation and Tourism, 3(4), 1-6. doi:10.1016/j.jort.2013.04.005

Eremić, G. (2021). New trends in camping tourism–glamping and family campsites. Geoadria, 26(1), 59-82.

Guernsey Institution. (2016). Tourism Accommodation Quality Standards of Glamping. Retrieved from https://www.visitisleofman.com/Glamping_311019

Igoe, B. & Lotus, B. (2016). Glamping Business : History of camping and glamping. Retrieved from http://www.glampingbusiness.com/2016/09/20/brief-history-camping-glamping

Kireeva, Y. A. (2021). Development of glamping in Russia and abroad. Laplage Em Revista, 7(Extra-B), 553-560.

Lindsey, R. (1604). The History of Scotland from 21 February, 1436 to March, 1565. Edinburgh.

Lopes, D., Brandão, F., Breda, Z., & Costa, R. (2020). The Four Dimensions of Tourist Experience: A Comparative Analysis Between Camping and Glamping. In International Conference on Tourism, Technology and Systems, 385-395.

Lubin, L. (2017). A Short History of Glamping Tents. Retrieved from http//blog.glamping.com/short-history-glamping-tents

Milohnić, I., Bonifačić, J. C., & Licul, I. (2019). Transformation of camping into glamping–Trends and perspectives. Tourism in Southeast Europe, 5, 457-473.

Sakáčová, K. L. (2013). Glamping-Nature served on silver platter. Aalborg University.

Tsovoodavaa, G., Shih, R. R. L., Bonjar, M. R. G., & Kistelegdi, I. (2018). A review and systemization of the traditional Mongolian yurt (GER). Pollack Periodic, 13(3), 19-30.

Vrtodušić Hrgović, A. M., Cvelić Bonifačić, J., & Licul, I. (2018). Glamping–new outdoor accommodation. Ekonomska Misao I Praksa, 2, 621-639.

Waterman, T. T. (1924). North American Indian Dwellings. Geographical Review, 14(1), 1-25.

Yildrim, G., & Erkilic, E. (2019). An overview of glamping tourism within the context of the middle east tourism: the case of Turkey. Journal of Recreation and Tourism Research, 6(4), 475-489.