อำนาจละมุน (Soft Power) ที่สะท้อนในธุรกิจการประกวดนางงาม : การใช้มุมมองทางสังคมและธุรกิจวิเคราะห์ผลกระทบในเชิงอำนาจละมุน

Main Article Content

พรชณิตว์ แก้วเนตร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์และอิทธิพลของพลังอำนาจละมุนต่อสังคมและเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ผ่านการศึกษาข้อมูลจากธุรกิจการประกวดนางงาม โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง (Interview) เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวนรวม 20 คน ได้แก่ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม บุคลากรในวงการบันเทิง ผู้กำหนดนโยบายด้าน Soft Power และนักวิชาการ วิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) จากผลการศึกษาพบว่าธุรกิจการประกวดนางงามได้สะท้อนลักษณะของอำนาจหนึ่งที่ผู้คนจำนวนมากไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งเรียกว่า “อำนาจละมุน (Soft Power)”  ผ่านการสื่อสารในรูปแบบใหม่ที่เชื่อมโยงและชักจูงกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้การโน้มน้าว เชิญชวน เสริมสร้างทัศนคติ สร้างค่านิยมใหม่ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบุคคลและสังคม ผ่านผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจความงาม ทั้งนี้ Soft Power มีบทบาทสำคัญมากขึ้นจากการที่ธุรกิจการประกวดนางงามได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดของการประกวดเพื่อความงามเป็นการค้นหาผู้หญิงที่มีความสวยและความฉลาด มีแนวคิดในเชิงปฏิรูปสังคมและพัฒนาตนเอง ผู้ที่ชื่นชอบการประกวดนางงามอาจไม่รู้ตัวและรับรู้ได้ถึงอำนาจนี้ว่ามีผลกระทบต่อตนเองและสังคมอย่างไร นอกจากนี้ยังมีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่สามารถเห็นได้ชัดในเชิงปริมาณ โดยธุรกิจการประกวดนางงาม สามารถใช้ Soft Power เพื่อสร้างธุรกิจต่อเนื่องและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

กัญญ์วรา ศิริสมบูรณ์เวช. (2565). พัฒนาการเวทีประกวด “นางงาม(ใน)ไทย” จากยุคใต้อำนาจรัฐ สู่การรับใช้นายทุน. สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_9797

กิตติ ประเสริฐสุข. (2008). Soft Power ของเกาหลีใต้: จุดแข็งและข้อจำกัด. International Journal of East Asia Studies, 22(1), 122-139.

ตรีนุช อิงคุทานนท์. (2565). โลกนี้ยังจำเป็นต้องมีนางงามอยู่ไหม? ชำแหละการมีอยู่ของวัฒนธรรมนางงามกับ ‘ฐิติพงษ์ ด้วงคง’. สืบค้นจาก https://themomentum.co/closeup-thitipong-duangkong/

ธนกร พฤกษชาติถาวร. (2564). ภาพลักษณ์นางงามไทยที่สะท้อนผ่านการตอบคําถามบนเวทีมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 20 (2), 230–242.

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2565). บทสรุปจากการสนทนากลุ่ม คนไทยกับโอกาสจาก Soft Power. กรุงเทพมหานคร; มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

แบรนด์อินไซด์. (2021). ประกวดนางงามทำเงินแค่ไหน? ส่องรายได้ผู้จัด Miss Universe Thailand และเป้า 1,500 ลบ. ในปี 2022. สืบค้นจาก https://brandinside.asia/tpn-global-miss-universe-thailand/

เอกสารอ้างอิง (ภาษาอังกฤษ)

Nye, J. S. (1990). Soft power. Foreign Policy, 80,153-171.

Nye, J.S. (2004). Power in the Global Information Age: From Realism to Globalization. London: Routledge.

Ohnesorge, H. W. (2020). Soft Power: The Forces of Attraction in International Relations (Global Power Shift). Switzerland: Springer.