สนามบินอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวร่วมมือกันพัฒนาสนามบินภายในพื้นที่ของชุมชนให้เกิดการผสมผสานอัตลักษณ์ของท้องถิ่นสู่สายตานักท่องเที่ยวเพื่อสอดคล้องกับรูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยใช้กระบวนการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสกัดประเด็นจากข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารบทวิเคราะห์วรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า สนามบินเป็นอุตสาหกรรมบริการด้านการขนส่งทางอากาศที่รวดเร็วและสะดวกสบาย และส่งผลดีต่อการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ ในส่วนของการท่องเที่ยว สนามบินเปรียบเสมือนประตูบ้านที่ให้การต้อนรับและถ่ายทอดเอกลักษณ์ท้องถิ่นให้แก่นักท่องเที่ยวได้เกิดความประทับใจแรก และสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามผ่านทางสนามบินได้ ซึ่งการพัฒนาสนามบินด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1.บทบาทสนามบินกับการท่องเที่ยว 2.การท่องเที่ยวอัตลักษณ์ท้องถิ่น 3.สนามบินกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อเสนอแนะเชิงวิชาการที่สำคัญ สามารถเพิ่มศักยภาพและพัฒนาสนามบินพาณิชย์ให้เป็นสนามบินที่คงไว้ด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่น สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน ให้สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาการท่องเที่ยวอัตลักษณ์ท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ สามารถคาดการณ์และชี้แนะแนวทางในการพัฒนาสนามบินพาณิชย์ของประเทศได้อย่างยั่งยืน และยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินอาเซียนได้ตามเป้าหมายของประเทศอย่างมีประสิทธิผล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เอกสารอ้างอิง (ภาษาไทย)
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). โครงการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืน. https://www.mots.go.th/download/Research/ProjectToPromoteSustainableTourism.pdf
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). ถอดบทเรียนชางงีสนามบินดีสุดในโลกรับมือวิกฤติโควิดอย่างไร. https://www.bangkokbiznews.com/world/901003
กรมท่าอากาศยาน. (2562). ข้อมูลและการบริการวิชาการ. https://www.airports.go.th/home
กรมประชาสัมพันธ์. (2565). กระตุ้นเทรนด์เมืองรอง รับนักท่องเที่ยว Digital Nomad. https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/33/iid/104486
แจแปนเทรเวล. (2565). สนามบินฮาเนดะ. https://www.japan.travel/th/plan/airport-access/haneda-airport/
แจแปนเทรเวล. (2565). สนามบินนาริตะ. https://www.japan.travel/th/spot/1551/
ไทยโพสต์. (2565). ทอท. ลุ้นหลังโควิดคลี่คลายผู้โดยสารปีนี้แตะ 45 ล้านคน. https://www.thaipost.net/economy-news/167652/
บุณวัทน์ ศรีขวัญ. (2563). แนวคิดการพัฒนาท่าอากาศยานพาณิชย์ของไทยอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาการจัดการ, 7(2), 240–265.
บริษัทท่าอากาศยานไทย. (2562). สถิติขนส่งทางอากาศ. https://investor-th.airportthai.co.th/transport.html
ผู้จัดการออนไลน์. (2565). รัฐบาลเร่งพัฒนาท่าอากาศยานทั่วไทยรับผู้โดยสารเพิ่มดันเป็นศูนย์กลางคมนาคมอาเซียน. https://mgronline.com/politics/detail/9650000055776
ผู้จัดการออนไลน์. (2565). รัฐบาลเผยโครงการพัฒนาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม นำร่อง 7 พื้นที่ 2 พันคน. https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/33/iid/104486
ผู้จัดการออนไลน์. (2566). ชางงีสิงคโปร์ทวงบัลลังก์แชมป์สนามบินที่ดีที่สุดในโลก 2023 ส่วนสุวรรณภูมิขยับดีขึ้นมาที่ 68. https://mgronline.com/travel/detail/9660000024619
มติชนออนไลน์. (2566). สนามบินชางงี ครองแชมป์ดีที่สุดในโลก 12 ปีซ้อน.
วิเทพ วาทะวุฒิ และ รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์. (2561). บทบาทสายการบินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), 315–331.
วิสุทโธ ทรงราษี (พระครูใบฎีกาวิชาญ). (2565). อัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารวนัมฎอง แหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 9(2), 47–58.
ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ. (2564). ข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว. https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/590826
สิทธิชัย ศรีเจริญประมง. (2561). แนวทางการออกแบบบริการของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 7(1), 55–70.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติกับ SDGs. https://shorturl.at/o38MC
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.). (2558). Community – Based Tourism ท่องเที่ยวโดยชุมชน. https://www.dasta.or.th/th/article/3105
เอกสารอ้างอิง (ภาษาอังกฤษ)
Wattanacharoensil, W. (2017). An analysis of the airport experience from an air traveler perspective. Journal of Hospitality and Tourism Management, 32, 124–135. https://doi.org/10.1016/j.jhtm.2017.06.003