การพัฒนานวัตกรรมนันทนาการสำหรับเยาวชนผู้นำเที่ยวชุมชนวิถีปกติใหม่โดยการประสานพลังของชุมชน: บ้านห้วยมาลัย จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนการท่องเที่ยวของชุมชนห้วยมาลัย 2) พัฒนากิจกรรมนวัตกรรมนันทนาการสำหรับเยาวชนผู้นำเที่ยววิถีปกติใหม่โดยการประสานพลังของชุมชน และ 3) พัฒนากลไกการประสานพลังชุมชนเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 6 ฝ่าย ได้แก่ ตัวแทนโรงเรียนบ้านห้วยมาลัย 5 คน ตัวแทนชุมชน 5 คน ตัวแทนภาครัฐ 4 คน ตัวแทนภาคเอกชน 4 คน ตัวแทนสถาบันการศึกษา 2 คน และตัวแทนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 22 คน คัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐานและการทดสอบที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ต้นทุนการท่องเที่ยวของชุมชนห้วยมาลัยและชุมชนเชื่อมโยงมีความหลากหลายน่าสนใจ ประกอบด้วย 1) มีทุนวัฒนธรรมและทรัพยากรที่หลากหลาย 2) มีเส้นทางการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับชุมชนห้วยมาลัย 5 โซนหลัก คือ โซนตัวเมืองและท่าม่วง โซนเขื่อนศรีนครินทร์และแม่น้ำแควใหญ่ โซนไทรโยค โซนบ้านอีต่อง และโซนสังขละบุรี 3) มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลายตามบริบทของพื้นที่ 4) มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมแต่บางจุดต้องปรับปรุง และ 5) มีการบริการห้องพักที่หลากหลาย 2. กิจกรรมนวัตกรรมนันทนาการสำหรับเยาวชนผู้นำเที่ยวชุมชนแบบปกติใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยการประสานพลังของชุมชน ชื่อ “นวัตกรรมนันทนาการสำหรับเยาวชนผู้นำเที่ยวชุมชนวิถีปกติใหม่” โดยฝ่ายมหาวิทยาลัยเป็นผู้นำกิจกรรม และหลังจากที่เยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรมพบว่ามีความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีคุณสมบัติเป็นเยาวชนผู้นำเที่ยวและมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. กลไกการประสานพลังชุมชน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมวางแผนปฏิบัติการ สังเกตผล สะท้อนผล และร่วมกันรับผลประโยชน์ของชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ไทยรัฐ. (2564). การท่องเที่ยวแบบปกติใหม่. ไทยรัฐ. https://www.thairath.co.th/news/
society/1929813
ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์, จิจุฑา ปานเผือก, เพชรรัตน์ ฉัตรวุฒิชัย, และ อริสรา คุ้มเพนียด. (2561). ประสิทธิภาพแหล่งเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร: กรณีศึกษาศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(13), 882-896.
พลอยไพลิน ศรีอ่ำดี. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนแบบแก้ปัญหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 6(2), 582-596.
รุ่งรัตน์ หัตถกรรม, วีรากร รัตกูล, กนกเกล้า แกล้วกล้า, ราเมศร์ พรหมชาติ, และ นรินทร์ เจตธำรง. (2561). ความต้องการตลาดแรงงานเพื่อปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชา อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ [การประชุมวิชาการ]. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2561.
โรงเรียนบ้านห้วยมาลัย. (2564). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนบ้านห้วยมาลัย.
เสรี พงศ์พิศ. (2552). วิถีสู่ชุมชนพอเพียง. สำนักพิมพ์พลังปัญญา.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสังขละบุรี. (2564). สารสนเทศตำบลต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กระทรวงมหาดไทย.
อมราวดี คำบุญ และ ดลฤทัย โกวรรธนะกุล. (2556). การประเมินความพร้อมทางการท่องเที่ยวของเมืองท่องเที่ยวขนาดเล็ก อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8(2), 3-22.
อภิเดช ช่างชัย, สันติ ศรีสวนแตง, และ ประสงค์ ตันพิชัย. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. Veridian E-Journal, Silpakorn University,10(2),1544-1560.