รูปแบบการเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการรุ่นเยาว์บนฐานการเรียนรู้ในโรงเรียน พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

นรินทร์ สังข์รักษา
สวรรยา ธรรมอภิพล
ปริญญา ปั้นสุวรรณ
นภสร นีละไพจิตร

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์ 2) ศึกษารูปแบบการเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการรุ่นเยาว์3) ทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์ และ 4) ประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการรุ่นเยาว์บนฐานการเรียนรู้ในโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงปริมาณคือ ผู้บริหารและครู จำนวน 384 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์ แบบทดสอบ และแบบประเมินต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในการเสริมสร้างทักษะอาชีพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์ใช้ E-SKILLS Model ประกอบด้วย 1) E- Entrepreneur 2) S-Skills for Learning 3) K-Knowledge Sharing 4) I-Inspiration 5) L-Leadership 6) L-Learning for Life และ 7) S-Self- Developing 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะอาชีพเชิงสร้างสรรค์ พบว่าคะแนนก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในระดับมาก และ 4) การถอดบทเรียนพบว่าได้เพิ่มประสบการณ์และรูปแบบการสร้างผู้ประกอบการ สามารถนำมาสร้างงาน สร้างรายได้ การทำงานเป็นทีม การเล่าเรื่องสินค้าในชุมชนของตนเอง ฝึกออกแบบการขายสินค้า ทำให้กล้าคิด กล้าแสดงออก ผลิตและขายสินค้าได้


Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นรินทร์ สังข์รักษา, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

-

References

Ernest, J., Ilgen, R., & Daniel, R. (1980). Industrial Psychology. Prentice-Hall.

Gattiker, T. (2012). Rethinking design. (Design Thinking in Quality World). Quality Progress, 45(3), 32-42.

Gordon, S. (1993). We Do: Therefore, we Learn. Training & Development, 47(10), 47-52.

Janaem, S. (1999). Developmental Psychology. Tai Wat Na Pha Nit.

Kanchanaburi Education Office. (2023). General Information 2023. Kanchanaburi Office.

Kanchanaburi Provincial Education Office. (2023). Operation Report of Kanchanaburi Kanchanaburi Education Sandbox. Kanchanaburi Provincial Education Office.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and

Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Mcgil, I., & Beaty, L. (1995). Action Learning: A Guide for Professional, Management & Educational

Development. Kogan Page.

Megginson, D., & Pedler, M. (1992). Self-Development a Facilitator’s Guide. McGraw-Hill.

Mohammad, A. U. (2016). Influence of Demographic Factors on the Entrepreneurial Intentions of University Students in Oman. Investment Management and Financial Innovations, 13(1), 86-91.

Minerva, P. (2019). Penggunaan Tabir Surya bagi Kesehatan Kulit. Jurnal Pendidikan dan Keluarga, 11(1), 95-101.

Srineat, S. (2017). Trend for New Entrepreneur in ASEAN Business. Suan Dusit Graduate School Academic Journal, 13(1), 113-122.

Sungrugsa, N., Bureepakde, C., & Pongtiyapiboon, S. (2013). Teacher Development Project by Coaching and Mentoring. Silpakorn University.

Torrance, E. P. (1965). Rewarding creative behavior. Prentice Hall.

Torrance, E. P. (1968). Guiding Creative Talent. Prentice-Hall.

Wolman, B. B. (1973). Dictionary of behavior science. Van Norstand Reinhold.