การถอดบทเรียนความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ ในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

วรานี เวสสุนทรเทพ
มานิดา เชื้ออินสูง
นวลศรี สงสม
มนฤทัย ศรีทองเกิด
มานะ เอี่ยมบัว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจข้อมูล การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การนำไปต่อยอดเชิงธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ระหว่างปี 2560 – 2564  2) เพื่อถอดบทเรียนรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อได้แนวทางในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีความยั่งยืน โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา เป็นวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการรวม 30 กลุ่ม ใน 10 อำเภอ ของจังหวัดสุพรรณบุรีได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ใช้ระเบียบวิธีวิจัย คือ การศึกษาเอกสาร เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และการประชุมกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็น ใช้แบบสำรวจ การถอดบทเรียน และการประชุมแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาสรุปผลและข้อเสนอแนะ โดยการสังเคราะห์เนื้อหาด้วยการจัดหมวดหมู่และจัดลำดับ ประเมินหาแนวทางพัฒนาความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้นั้น มีศักยภาพความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ศักยภาพสูง ปานกลางและน้อย 2) กลุ่มที่มีศักยภาพสูง มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญด้านมาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้า พึ่งพาตนเองมีความเข้มแข็งผลวิจัยสามารถเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์โดยให้สอดคล้องกับการวิจัยและบริการวิชาการ ใน SDU Direction ข้อที่ 1.4 การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งสำหรับพื้นที่เป้าหมายและชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาน. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. บพิธการพิมพ์.

จิตติมา พลศักดิ์. (2562). แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาบ้านห้วยตําบลเมืองหลวง อําเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(3), 107–114.

ชนะศึก นิชานนท์, ยุธยา อยู่เย็น, จิราพร รอดพ่วง, สุชาดา คุ้มสลุด, และณปภร เจี้ยวเห้ง. (2564). การเพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตเกษตรปลอดภัย. Suan Sunandha Academic & Research Review, 16(2), 60-77.

นภาภรณ์ หะวานนท์, เพ็ญสิริ จีระเดชากุล, สุรวุฒิ ปัดไธสง, นําชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล, และปานจักร เหล่ารัตนวรพง. (2550). ดัชนีความเข้มแข็งของชุมชน ความกลมกลืนระหว่างทฤษฎีฐานรากกับข้อมูลเชิงประจักษ์. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นิคม สุวพงษ์. (2565). การถอดบทเรียน: เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 7(1), 47–60.

วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

อริย์ธัช อักษรทับ, อิสรี แพทย์เจริญ, ชาญวิทย์ จาตุประยูร, และวุฒิพงษ์ ฉั่วตระกูล. (2564). การถอดบทเรียนเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปลําไยเนื้อสีทอง ตําบลบ้านธิ อําเภอบ้านธิ จังหวัดลําพูน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(3), 44–61.