การศึกษาผลของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองภาคเหนือตอนบน (แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองภาคเหนือตอนบน (แพร่ น่าน ลาพูน ลาปาง) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองภาคเหนือตอนบน แพร่ น่าน ลาพูน ลาปาง ตลอดจน ศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยวที่มีต่อนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองภาคเหนือตอนบน โดยการสัมภาษณ์และจัดประชุมระดมความคิดเห็น มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการธุรกิจนาเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจที่พักแรม ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ประกอบการธุรกิจจาหน่ายสินค้าและของที่ระลึก ผู้ประกอบการธุรกิจคมนาคมขนส่ง ผู้ประกอบการธุรกิจนันทนาการและธุรกิจเพื่อความบันเทิง ตลอดจน ตัวแทนผู้นาชุมชนท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยได้ศึกษาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม ของนโยบายที่มีต่อพื้นที่ และภาพรวมพบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยวได้เล็งเห็นถึงข้อดีในการส่งเสริมผลักดันการท่องเที่ยวเมืองรอง โดยมีการเตรียมความพร้อมในการรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในทุกช่วงฤดูกาล ตลอดจน การผลักดันนาเอาทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ มาต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยว
Article Details
References
กรวรรณ สังขร. แหล่งท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวตลาดใหม่. เชียงใหม่ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 - 2564). สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2561, จากเว็ปไซต์ https://www.mots.go.th/ more_news.php?cid=312
นิคม จารุมณี. การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร โอเดียนสโตร์, 2544
ไพฑูรย์ พงศะบุตร และวิลาสวงค์ พงศะบุตร. คู่มือการอบรมมัคคุเทศก์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
ราณี อิสิชัยกุล. การจัดการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
อรรถวุฒิ พงษ์โสภาวิจิตร และธนวิทย์ บุตรอุดม. การประเมินโครงการฟ้าใสไร้มลพิษ สรรสร้างเศรษฐกิจชุมชน ของสานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัด ลาปาง. วารสารมนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 2558. 3(2). หน้า 121-142.