ความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง : ศึกษาเฉพาะกรณี บ้านโนนสะอาด ตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สิทธิพร เกษจ้อย
พระวรชัด ทะสา

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 6 ตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 6 ตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชากร 103 คน ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชน นำมาวิเคราะห์ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)


                ผลการวิจัยพบว่า


                1. ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 103 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.25 และเป็นเพศชาย ร้อยละ 41.75 อายุ 51 ปีขึ้นไป ร้อยละ 38.83 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 34.95 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 22.33 และอายุ 20-30 ปี ร้อยละ 3.88 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 76.70 ประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 11.65 และประกอบอาชีพอิสระ ร้อยละ 11.65 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 72.82  มัธยมศึกษาร้อยละ 26.21 และจบการศึกษาระดับชั้นอนุปริญญา ร้อยละ 0.97


              2. ความพึงพอใจของสมาชิกที่มีต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยภาพรวมสมาชิกมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการวางแผน ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และด้านการประเมินการใช้เงินกองทุน สมาชิกมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับปานกลาง การมีส่วนร่วมของสมาชิกมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับน้อย


              3. ข้อเสนอแนะแนวทางที่มีต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีดังนี้ 1) ด้านการวางแผน มีการวางแผนแก้ไขปัญหาช้าเกินไปและไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้ การชำระเงินคืนของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านล่าช้า คณะกรรมการไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเงินกู้แก่สมาชิก ดังนั้น เจ้าหน้ากองทุนควรปฏิบัติตามแผนและมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการให้กู้ยืมและการชำระเงินหรือเงินปันผลที่รวดเร็ว 2) ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน คณะกรรมการไม่มีการแบ่งงานซึ่งหนักอยู่ที่ตัวประธานเพียงคนเดียว และคณะกรรมการไม่มีความรู้ซึ่งจะนำมาปฏิบัติงาน


              4. ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก สมาชิกนำเงินไปใช้ไม่ตรงวัตถุประสงค์ และไม่ส่งเงินคืนกองทุนหมู่บ้านทำให้เกิดปัญหา สมาชิกไม่มีส่วนร่วมในร่วมการประชุม ดังนั้น ควรมีการประชุมทำความเข้าใจในแผนงานและวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อให้ สมาชิกนำเงินไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน


              5. ด้านการประเมินการใช้กองทุน สมาชิกจากการประเมินมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น และไม่จ่ายเงินตามกำหนด คณะกรรมการมีการดำเนินงานไม่เป็นระบบและไม่สามารถปิดงบดุลในแต่ละปีได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุขพิชัย เชาวกุล. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่ : ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่ที่ 7 ตำบลคลอมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. สารนิพนธ์ ศาสนศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 2554.
เสด็จ ศรีบุรินทร์. การบริหารงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. สารนิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 2554.