การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในรายวิชาคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับบัณฑิตในอุดมคติไทย ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง

Main Article Content

เบญจมาศ ยศเสนา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม สำหรับบัณฑิตในอุดมคติไทยตามแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง และศึกษาระดับความความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม สำหรับบัณฑิตในอุดมคติไทยตามแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์และการกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม สำหรับบัณฑิตในอุดมคติไทยตามแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
ผลการศึกษา พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในรายวิชาคุณธรรมและจริยธรรม สำหรับบัณฑิตในอุดมคติไทย ได้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คือ การโต้วาที การเล่าเรื่อง การปฏิบัติกิจกรรมสาธารณะที่เป็นประโยชน์แก่สังคมและชุมชน การแก้ไขสถานการณ์ตามที่ผู้สอนกำหนด และการใช้สื่อการสอนผ่านเทคโนโลยีโดยผ่านสื่อโซเชียล (Social Media) แอพลิเคชั่น (Application) ส่งผลให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากขึ้น
ในขณะที่ผลการศึกษาระดับความความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม สำหรับบัณฑิตในอุดมคติไทยตามแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง พบว่า ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานกับ 0.74


คำสำคัญ: คุณธรรมและจริยธรรม การสอน การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. “หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545”. กรุงเทพมหานคร องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), (2546).
กฤติยา อริยา, วารีรัตน์ แก้วอุไร, และเพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท. “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษา ครู มหาวิทยาลัยราชภัฎ”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2, กรกฎาคม-ธันวาคม 2559.
ชนัดดา ภูหงษ์ทอง. การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผ่านวิธีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง”. วิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2560.
--------. “การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: ความท้าทายของผู้สอนในระดับอุดมศึกษา”. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม 2561.
มิลินทรา กวินกมลโรจน์. การวิจัยและพัฒนากระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร. การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชา LSC 305 การจัดการผู้ขายปัจจัยการผลิตสัมพันธ์. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555.
วาสนา มั่งคั่ง, เบญจมาศ ยศเสนา, ศรีจันทร์ พลับจั่น. “การจัดการเรียนการสอนตามกรอบแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง ในสังกัดพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข”. วารสารวิชาการสาธารณสุข ฉบับพิเศษ, ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม-มิถุนายน 2562.
สลิตา รินสิริ. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญของโรงเรียนในอําเภอเกาะจันทร์ สํานักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. งานนิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558.
อาทิตยา ปัญญา อมรรัตน์ วัฒนาธร และวารีรัตน์ แก้วอุไร และปกรณ์ ประจันบาน. “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก”. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2556.
Cranton, P. Teaching for transformation. New Directions for Adult and Continuing Education. 2002.
Mezirow, J. Learning as transformation: Critical perspectives on a theory in progress. San Francisco: Jossey-Bass. 2000.
Taylor. E. The Theory and Practice of Transformative Learning: A critical Review. College of Education. The Ohio state University. Columbus. 1998.