การส่งเสริมการปฏิบัติของครูเกี่ยวกับการใช้แท๊บเล็ตในการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครด้วยโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • รัสรินทร์ รวงผึ้งวีระโชติ โรงเรียนสุโขทัย
  • ศศิเทพ ปิติพรเทพิน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การใช้แท็บเล็ตเพื่อการเรียนรู้, การปฏิบัติของครู, การจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สํารวจสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ 2) ส่งเสริมการปฏิบัติของครูผู้สอนเกี่ยวกับการใช้แท๊บเล็ตในการจัดการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครูและ 3) สํารวจความพึงพอใจเกี่ยวกับการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครูทําการวิจัยโดยส่งเสริมการปฏิบัติของครูเกี่ยวกับการใช้แท๊บเล็ตในการจัดการเรียนรู้ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ งานวิจัยช่วงแรก เป็นการสํารวจสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ช่วงที่ 2 เกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครูที่ส่งเสริมการใช้การใช้แท๊บเล็ต และงานวิจัยช่วงที่ 3 เกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติของครูผู้สอนเกี่ยวกับการใช้แท๊บเล็ตในการจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นผลจากการเข้าโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครูกลุ่มที่ศึกษา คือ ค รูของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่ง จํานวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสัมภาษณ์กลุ่ม แผนการจัดการเรียนรู้ของครูและแบบประเมินสอบถามความพึงพอใจต่อโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าความถี่ ร้อยละและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ก่อนเข้าโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครูครู 6 คน (ร้อยละ 37.50) ใช้แท็บเล็ตในการจัดการเรียนรู้แต่หลังเข้าโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครูครู 16 คน (ร้อยละ 100) มีการใช้แท็บเล็ตในการจัดการเรียนรู้โดยมีการใช้แท๊บเล็ตในการจัดการเรียนรู้ 5 รูปแบบ ได้แก่การนําเสนอความรู้ของครู การนําเสนอของนักเรียน แหล่งสืบค้นข้อมูลของนักเรียน แหล่งการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน และการสร้างชิ้นงานของนักเรียนนอกจากนี้ครูมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครูในระดับมากที่สุด

References

Chaijaroen, S. (2003). Constructivist theory.Department of Educational Technology. Faculty of Education, KhonKaen University. [in Thai]

Education Office. (2018). Strategy according to the basic education development plan bangkok (2013-2016). Retrieved from http://www.bangkok.go.th/bangkokeducationpdf. [in Thai]

Fakkao, S. (2017). 21st Century Skills. (online). Retrieved on September 2018, from http://web.chandra.ac.th/blog/ wp-content/uploads/2015/10/. [in Thai]

Junnoi, P. (2017). Education 4.0. Special article. Retrieved on February 2018, from https://www.kroobannok.com/81497. [in Thai]

Loucks-Horseley, S., N. Love, K. E. Stiles, S. Mundry, & P.W. Hewson. (2003). Designing Professional Development for Teachers of Science and Mathematics. The National Institute for Science Education. California: Corwin Press, Inc.

National Statistical Office. (2013). Satisfaction survey report regarding tablet distribution policy for Grade 1. Retrieved on March 2018, from http://service.nso.go.th/nso/ nsopublish/servopin/files/rep_tablet.pdf . [in Thai]

Ruangsuwan, C. (2004). Media administration and technology education. Bangkok: SE-EDUCATION Public company limited.[in Thai]

Srifa, P. (2011). Tablet direction of research, technology and communications: concept to operational processes. Lecture at Thaksin University, Songkhla. [in Thai]

Zhu, E. & Kaplan, M. (2002). Technology and teaching. In W. J. McKeachie(Ed.), McKeachie’s teaching tips: strategies, research, and theory for college and university teachers(pp. 204–224).Boston: Houghton Mifflin Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020