การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่องปรากฏการณ์ และการเปลี่ยนแปลงของโลกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสำนักบก จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ดาริกา พงษ์เผ่าพงษ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จุฬารัตน์ ธรรมประทีป สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน, ความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, แนวปฏิบัติที่ดีของการจัด การเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์และการเปลี่ยนแปลงของโลก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสำนักบก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จังหวัดชลบุรี จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน บันทึกหลังสอน วีดิทัศน์บันทึกการสอนและใบกิจกรรมของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ ร้อยละและความก้าวหน้าทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนเรียนนักเรียนมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปรับปรุง จำนวน 21 คน (ร้อยละ 100.00) หลังเรียนนักเรียนมีการพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น ดังนี้ อยู่ในระดับดี จำนวน 7 คน (ร้อยละ 33.33) อยู่ในระดับพอใช้ จำนวน 13 คน (ร้อยละ 61.19) และอยู่ในระดับปรับปรุง จำนวน 1 คน (ร้อยละ 4.76) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เมื่อคิดระดับความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน พบว่า มีความ ก้าวหน้าทางการเรียนรายชั้นอยู่ในระดับปานกลาง (<g> = 0.37) 3) แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่ช่วยพัฒนาความสามารถ ในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
(1) การอธิบายองค์ประกอบของคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนช่วยส่งเสริมการเขียนคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์หลังจากการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (2) การเขียนแผนผังแนวคิดแสดงความเชื่อมโยงข้อมูลเชิงประจักษ์ช่วยให้นักเรียนสามารถเลือกข้อมูลที่เหมาะสมในการเขียนคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ และ (3) การนำเสนอและอภิปรายส่งเสริมการเขียนข้อกล่าวอ้างของนักเรียนให้เหมาะสมมากขึ้น

References

Berland, L. K., & Reiser, B. J. (2009). Making sense of argumentation and explanation. Science Education, 93(1), 26-55.

Buckley, B. C., Gobert, J. D., Kindfield, A. C., Horwitz, P., Tinker, R. F., Gerlits, B., . . . Willett, J. (2004). Model-based teaching and learning with BioLogica™: What do they learn? How do they learn? How do we know? Journal of Science Education and Technology, 13(1), 23-41.

Chaowakeratipong, N. (2019). A set of exercises to design activities and write a science lesson plan by using a scientific investigation and explanation process. Nonthaburi: Department of Education, Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai].

Coll, R. K. (2008). Chemistry Learners' Preferred Mental Models for Chemical Bonding. Journal of Turkish Science Education, 5(1), 23-48.

Gobert, J. D., & Buckley, B. C. (2002). Introduction to model-based teaching and learning in science education. International Journal of Science Education. 22(9), 891-894

Kemmis, S., & R. McTaggart. (1998). The Action Research Planner. Geelong. Victoria:Deakin University Press.

Klaynin, S. (2012). Thai Science Education: Development and Stability. Samut Prakan: Advance Printing Service. [in Thai].

Maia, P. F., & Justi, R. (2009). Learning of chemical equilibrium through modelling-based teaching. International Journal of Science Education, 31(5), 603-630.

McNeill, K. L., & Krajcik, J. (2006). Supporting students’ construction of scientific explanation through generic versus context-specific written scaffolds. Paper presented at the annual meeting of the American Educational Research Association, San Francisco, April, 2006.

McNeill, K. L., & Krajcik, J. (2008). Scientific explanations: Characterizing and evaluating the effects of teachers' instructional practices on student learning. Journal of Research in Science Teaching: The Official Journal of the National Association for Research in Science Teaching, 45(1), 53-78.

Meela, P., & Artdej, R. (2017). Model Based Inquiry And Scientific Explanation: Promoting Meaning-Making In Classroom. Journal of Education Naresuan University 19(3), 1-15. [in Thai].

Peker, D., & Wallace, C. S. (2011). Characterizing high school students’ written explanations in biology laboratories. Research in Science Education, 41(2), 169-191.

Pinitmontree, T. (2018). Learning Inventory Using Model-Based Learning Approach for Increasing Critical Thinking and Learning Achievements on "The Earth and Changing" for the 8th Grade Level. (Degree of Master of Education Unpublished). Rajabhat Maha Sarakham University, Maha Sarakham. [in Thai].

Ruiz-Primo, M. A., Li, M., Tsai, S. P., & Schneider, J. (2010). Testing one premise of scientific inquiry in science classrooms: Examining students' scientific explanations and student learning. Journal of Research in Science Teaching: The Official Journal of the National Association for Research in Science Teaching, 47(5), 583-608.

Rungpranomkorn, R. (2015). The Effects of Using Model-Based Learning in the Topic of Force and Motion to Develop Science Learning Achievement and Science Process Skills of Prathom Suksa V Students in Mae La Noi Educational Development Network, Mae Hong Son Province. (Degree of Master of Education Unpublished). Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi. [in Thai].

Schwarz, C. V., Reiser, B. J., Davis, E. A., Kenyon, L., Acher, A., Fortus, D., . . ., & Krajcik, J. (2009). Developing a learning progression for scientific modeling: making scientific modeling accessible and meaningful for learners. Journal of Research in Science Teaching, 46(6), 632-654.

Senisrisakul, U. (2018). National Basic Education Test Report (O-NET) Science Education Prathom Suksa VI Academic Year 2018. Chonburi: Wat samnakbok School. [in Thai].

Supatchaiyawong, P., Faikhamta, C., & Suwanruji, P. (2015). Using Model-Based Learning for Enhancing Mental Model of Atomic Structure and Understandings of the Nature of Model of 10th Grade Students. Walailak Journal of Learning Innovations, 1(1), 97-124. [in Thai].

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology: IPST. (2013). Preliminary Analysis Report for PISA 2012. Bangkok. [in Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31