การประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • วรวรรณ ผิวโชติ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • บุญจันทร์ สีสันต์ ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์ ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

ประเมินโครงการ, การจัดการเรียนการสอน, หลักสูตรภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวง ศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครองของโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 492 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x} =4.16, S.D.=0.354) โดย ด้านบริบท ( gif.latex?\bar{x} =4.55, S.D.=0.478) อยู่ในระดับดีมาก ด้านปัจจัยเบื้องต้น ( gif.latex?\bar{x} =4.24, S.D.=0.426) อยู่ในระดับดี  ด้านกระบวนการ ( gif.latex?\bar{x} =4.13, S.D.=0.371) อยู่ในระดับดี  ด้านผลผลิต ( gif.latex?\bar{x} =4.11, S.D.=0.364) อยู่ในระดับดี

References

Anderson, E. A. (1995). Measuring service quality at a university health clinic. International journal of health care quality assurance. 8(2): 32-37.

Asfaroh, J. A., Rosana, D., and Supahar, S. (2017). An Evaluation of the Implementation of Project Assessment Problem Solving Skills Students in Science Learning. In International Conference on Science Education (ICoSEd).

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing 5th. New York: Harper Collins Publishers.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Leikitwathana, P. (2013). Educational research. Bangkok : Faculty of Industrial Education. King Mongkut’s Institute of Technology Ladkabang. [in Thai]

Office of the Basic Education Commission. (2015). Ministry of Education. Basic Education Core Curriculum B.E.2008 (A.D. 2008). Bangkok: Office of the Basic Education Commission. [in Thai]

Royal Thai Government Gazette. (2016). Act of Parliament National. Education. (1999). Amendment (Version2), 2002 and (Version3), 2010. Retrieved from https://www.mwit.ac.th [in Thai]

Sisan, B. (2017). Advanced research methods and statistics for educational administration. Bangkok: Min Service Supply. [in Thai]

Tyler, R.W. (1949). Basic Principle of Curriculum and Instruction, Chicago. University of Chicago Press.

The Secondary Educational Service Area Office Bangkok 2, (2020). Retrieved from http://www.secondary2.obec.go.th/sesao2/index2.html. [in Thai]

Worthen, B.R. and Sanders, J.R. (1973) Education Evaluation : Theory and Practice. Worthington; Charles A. Jones, Wadsworth Publishing Company.

Yildiz, D. (2004). Nicotine, its metabolism and an overview of its biological effects. Toxicon, 43(6), 619-632.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2022