แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สาธิตา แดงภิรมย์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นันทิยา น้อยจันทร์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, กรอบมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการระดับปฐมวัยตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของโรงเรียน
ในสำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร
2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรในการวิจัย คือผู้บริหารและครูผู้สอนปฐมวัย จำนวน 96 คน
ปีการศึกษา 2562 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (μ)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และนำข้อมูลมาหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น Modified Priority Need Index (PNImodified) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ใช้การแจกแจง ความถี่และวิเคราะห์เนื้อหา  ได้เป็นแนวทาง
การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ของโรงเรียนในสำนักงาน เขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร  ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผลพัฒนาการ ด้านการจัด  ประสบการณ์เรียนรู้ ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ด้านการนิเทศภายใน ตามลำดับ และ 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตจอมทอง  สังกัดกรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1) ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ คือ การให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560  โดยจัดกิจกรรมประสบการณ์เรียนรู้ตามความสนใจของเด็กอย่างหลากหลายตามความถนัดและความสามารถของเด็กปฐมวัย 2) ด้านสื่อการเรียนเรียนการสอน คือ
การจัดให้มีสื่ออุปกรณ์ / เครื่องเล่นตามมุมต่าง ๆ อย่างเพียงพอ จัดหาสื่อเทคโนโลยีมาใช้จัดประสบการณ์
การเรียนรู้ได้ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและการจัดทำทะเบียนสื่อการเรียนการสอนเป็นปัจจุบัน  3) ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ คือ การจัดอบรมให้กับครูปฐมวัยให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาได้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของชุมชนและการเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นเพื่อนำมาพัฒนาตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560  จากผู้ใช้หลักสูตร ผู้มีส่วนร่วม ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ ในการจัดทำหลักสูตร 4) ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการ คือ การพัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพเป็นประจำทุกปี  ใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการที่หลากหลายตามหลักการวัดและประเมินผลเด็กปฐมวัยและการจัดประชุมอบรมครูปฐมวัยเพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินพัฒนาการด้วยวิธีการต่าง ๆ 5) ด้านการนิเทศภายใน คือ
การประชาสัมพันธ์เผยแพร่การนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ ดำเนินการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสมกับโรงเรียน
โดยเน้นให้ครูปฐมวัยนิเทศช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

References

Ariyasat, N. (2012). A Study of Conditions and Problems in Early Childhood Education Curriculum Administration of Private Schools in Chanthaburi Province. The Master Degree Thesis of Education Degree in Educational Administration, Rampaipanee Rajabhat University. [in Thai]

Buasri,T. (1999). The Theory of Logic, Formula, Design, Development. (4th ed.). Bangkok: Krusapa Ladprao. [in Thai]

Campbell, J. P. (1977). On the Nature of Organizational Effectiveness. in New Perspective on Organizational Effectiveness. Edited by Paul S. Goodman and Johannes M.

Intachai, R. (2016). Guidelines for Academic Administration for Early Childhood Education of Smaller Schools under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 3. The Master Degree Thesis of Education Degree in Educational Administration, Nakhon Sawan Rajabhat University. [in Thai]

Jaengjit, S. (2016). Guidelines for Academic Administration of Early Childhood Education of Small Schools under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2. Thesis the Master of Education Degree in Educational Administration, Nakhon Sawan Rajabhat University. [in Thai]

Koliam, M., Udom and Thammanupab, M, (2007). Kindergarten which is Desirable for Parents in Samsen Nai District, Bangkok. Academic Journal of the Graduate School of Suan Dusit. 3(2), 266-272. [in Thai]

Ministry of Education. (2017a). Early Childhood Education Curriculum B.E. 2560. Bangkok: Chumnumsakronkasateof Thailand. [in Thai]

Ministry of Education. (2017b). National Education Plan 2017-2036. (1st ed.). Bangkok: Prik Wan Graphic. [in Thai]

Ministry of Education. (2017c). Bangkok Basic Education Development Plan Vol. 2 2017-2020. Office of Educational Strategy. Bangkok Education Bureau (1st ed.). Bangkok: Chumnumsakronkasate of Thailand. [in Thai]

Ministry of Education. (2017d). Bureau of Educational Testing, Office of the Education Commission basic. Retrieved from https://bet.obec.go.th/ New2020/?page_id=1484. [in Thai]

Panthong, O. (2013). Problems and Guided Development of Academic Affairs Administrations of Srinagarindra the Princess Mother School Rayong under the Royal Patronage of Her Royal Highness Prices Maha Chakri Sirindhorn under Secondary Educational Service Area Office 18. Thesis the Master of Education Degree in Educational Administration, Burapha University. [in Thai]

Sukajira, A. (2014). A Study of Conditions, Problems and Solution Guidelines of Academic Administration in Early Childhood Education of Schools in Pkranakhon Si Ayutthaya Province. Master of Education Thesis . Program in Educational Administration, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. [in Thai]

Wongwanich, S. (2015). Needs Assessment Necessary Research. (3rd ed.). Bangkok: V Print (1991). [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31