ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีกเรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท้ายเหมือง 3 จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • สุนิสา จูฑามาตย์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุจินต์ วิศวธีรานนท์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การสืบเสาะหาความรู้, กิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก, การคิดวิเคราะห์, การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์, ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท้ายเหมือง 3 จังหวัดพังงาระหว่างก่อนและหลังเรียนแบบ
สืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท้ายเหมือง 3 จังหวัดพังงา ระหว่างก่อนและหลังเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่งในโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท้ายเหมือง 3 จังหวัดพังงา จำนวน 19 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก เรื่อง แหล่งน้ำและลมฟ้าอากาศ แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งความสามารถในการคิดวิเคราะห์มีการพัฒนาทั้งในด้านความสำคัญและด้านหลักการมีการพัฒนาส่วนด้านความสัมพันธ์มีการพัฒนาน้อย และ 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนแบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับกิจกรรมพัฒนาสมองสองซีก มีพัฒนาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Educational objectives: The classification of educational goals. New York: McKay.

Charoenwongsak, K. (2010). Strategic Thinking. Bangkok: Success Media Co., Ltd. [in Thai].

Department of Academic Affairs, Ministry of Education. (2001). Basic Education Core Curriculum B.E. 2544 Standards and Learning Standards: Science. Bangkok: Express Transport Organization. [in Thai].

Elkhonon, G., & Kenneth, P., and Marks, L. (1994). Lateralization of frontal lobe functions and cognitive novelty. Journal of Neuropsychiatry, 6(4), 371-378.

Jeamkoksung, S. (2009). The effects of the Inquiry method on science problem solving skills of Prathom Suksa IV Students at Tumbonkokkruad School, Mueang District, Nakhon Ratchasima Province, School of Educational Studies, (Unpublished master’s thesis). Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai].

Ministry of Education. (2017). Learning standards and indicators for learning Mathematics, Science, and Geography In the group of learning, social studies, religion and culture (Revised version 2017) according to the core curriculum of basic education, BE 2008. Bangkok: Agricultural Co-operative Federation of Thailand Ltd. [in Thai].

Moonkum, S., & Moonkum, O. (2002). 21 Learning how to develop the thinking process. Bangkok: Partnership Parbpim.

Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017 – 2032. Bangkok: Prigwhangraphics., Ltd. [in Thai].

Panich, T. (2001). 4MAT : Learning and teaching activity management conform with the nature learning of learner. 3rd ed., Bangkok: Saisongsuksit, Kledthai Co.Ltd.,

Romyen, N., & Singlop, S., and Thongsorn, P. (2018). Achievement and creativity of Mathayomsuksa 2 students, applying 4 MAT learning model. Academic Journal of Buriram Rajabhat University, 10(1), 81-95. [in Thai].

Sakorn, S. (1994). Teaching behavior in the area of Life Experiences: Science. Department of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Chandrakasem Rajabhat Institute, Bangkok. [in Thai].

Seupkinorn, K. (2008). A study of learning outcomes and problem solving abilities on substance in daily life of sixth grade students taught by 4 MAT approach, (Unpublished master’s thesis). Department of Curriculum and Instruction, Graduate School, Silapakorn University. [in Thai].

Srihaset, C., & Anantarak M., and Thongyot, S. (2013). Comparison of learning achievements, science process skills, and attitudes towards science learning on ‘Bio-molecular Substances’of Mathayom Suksa 6 students between 4 MAT learning management and 7E Inquiry learning management. Nakhon Phanom University Journal, 3(3), 68-74. [in Thai].

Songarjin, S. (2008). The results of learning management by an inquiry process on the analytical thinking abilities, abilities in problem solving and learning achievements in science of Prathomsuksa VI students, (Unpublished master’s thesis). Thaksin University, Songkhla. [in Thai].

Soontornroj, W. (2011). Innovations for Learning. Department of Curriculum and Instruction. Faculty of Education. Mahasarakham University. [in Thai].

Tepsuribun, P., & Nuankaew, J., and Liumthong, S. (2019). Development of scientific creative thinking in the topic of Biodiversity of Mathayom Suksa 3 students learning under the 5E Inquiry Cycle learning management together with the 4 MAT technique. STOU Education Journal, 12(1), 168-177. [in Thai].

The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2003). Sciences learning management for basic education curriculum. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. [in thai].

Vorawattanachai, P. (2016). Two brain hemispheres mechanism with human creativity. Journal of Information, 15(2), 1-11. [in Thai].

Weir, J. J. (1974). Problem solving is everybody’s problem. The Science Teacher, 4, 16-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30