กรณีศึกษาการใช้แนวทางการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการใช้ ประสาทสัมผัสและการเรียนรู้ของเด็กวัยเตาะแตะ
คำสำคัญ:
กรณีศึกษา, การเล่นวัสดุสร้างสรรค์, การใช้ประสาทสัมผัส, การเรียนรู้, เด็กวัยเตาะแตะบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบแนวทางการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ให้เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ 2) ศึกษาการใช้ประสาทสัมผัสและการเรียนรู้ของเด็กวัยเตาะแตะ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในรูปแบบกรณีศึกษาเดี่ยว โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเด็กวัยเตาะแตะที่มีอายุ 1 ปี และเป็นบุตรของผู้ศึกษา ในปี พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแผนการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมประสาทสัมผัสและการเรียนรู้ของเด็กวัยเตาะแตะ จำนวน 20 แผน ครอบคลุมสาระที่ควรรู้เรื่องธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การจดบันทึกพฤติกรรม การบันทึกภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหวในขณะเล่นวัสดุสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์ด้วยการจำแนกชนิดข้อมูล และบรรยายเชิงพรรณนา
จากการศึกษาพบว่า 1) แนวทางการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์มีความเหมาะสมสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ ประกอบด้วย 1.1) การจัดกิจกรรมสามารถจัดทั้งในร่มและกลางแจ้ง 1.2) มีการกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจนในการพัฒนาเด็กก่อนการออกแบบกิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ 1.3 วัสดุอุปกรณ์เลือกอย่างหลากหลายมีความเหมาะสมกับวัยของเด็กและหาได้ง่ายสอดคล้องกับสาระที่ควรรู้ 2) กรณีศึกษามีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสำรวจตรวจสอบและทดลองผ่านการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ โดยกรณีศึกษาจะกำหนดรูปแบบการเล่นด้วยตนเอง และนำไปสู่การเรียนรู้ด้านสติปัญญาในการสนใจสิ่งต่างๆรอบตัว จดจำ ใช้ความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหา การเรียนรู้ด้านร่างกายในการเคลื่อนไหว และใช้อวัยวะของร่างกายได้ประสานสัมพันธ์กัน การเรียนรู้ทางสังคมในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว และการเรียนรู้ด้านอารมณ์จิตใจในการแสดงออกทางอารมณ์อย่างมีความสุข
References
Anna. (2019). Getting to grips with loose parts play. Retrieved from https://www.pacey.org.uk/ news-and-views/pacey-blog/2019/march-2019/getting-to-grips-with-loose-parts-play/.
Butkatunyoo, O. (2020). The Development of Early Childhood Thinking Provision. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]
Cacey, T. & Robertson, J. (2019). Loose Parts Play. Retrieved from https://www.playscotland.org/ resources/print/Loose-Parts-Play-Tookit-Revised.pdf?plsctml_id=10924.
Daly, L. and Beloglovsky, M. (2015). Teaching and Learning with Loose Parts. Retrieved from https://www.education.sa.gov.au/sites/default/files/npsa-familyday-care-loose-parts.pdf.
Emergency Operation Center Department of Disease Control (2021). Corona Virus Disease (Covid 2019) Daily Report. Retrieved from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no483-300464.pdf. [In Thai]
Letplaymore. (2019). Loose Parts Playing. Retrieved from. http://www.letsplaymore.org/ 2019/10/01/. [in Thai]
Ministry of Education. (2018) Early Childhood Curriculum B.E. 2560 [A.D. 2017] Handbook for children under 3 Years Old. Retrieved from http://academic.obec.go.th/ images/document/1572317544_d_1.pdf. [in Thai]
Nicholson, S. (1971). How Not to Cheat Children The Theory of Loose Parts. Retrieved from https://media.kaboom.org/docs/documents/pdf/ip/Imagination-Playground-Theory-of-Loose-Parts-Simon-Nicholson.pdf.
Play Scotland. (2021). Loose Parts Plays. Retrieved from Play-Scotland-Loose-Parts-Leaflet.pdf?plsctml_id=10934.
Samahito, C. (2020). Handout Course on Development and Leaning in Young Children. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]
Srithong, M. (2011). The Effects of Children as Researchers Learning on the Environment Conservation Knowledge of Preschool Children. Master of Education Thesis Program in Early Childhood Education Graduate School Kasetsart University. [in Thai]
Sukontarat, W. (2002). A Study on Infant and Toddler Educare Operation of Administrators and Caregivers in Child Care Center. Faculty of Education. Chulalongkorn University. Retrieved from http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/301/3/Woranart.pdf. [in Thai]
The Pennsylvania State University (2019). Loose Parts: What does this mean?. Retrieved from http://bkc-od-media.vmhost.psu.edu/ documents/tips1107.pdf
The Royal College Pediatricians of Thailand & Pediatric Society of Thailand. (n.d.). A Guide for Parents to Disseminate Knowledge on Child Care and Development in Childhood 0-3 Years. Retrieved from http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20171010123052.pdf. [in Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)