การพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ธนกรณ์ ชัยธวัช สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้และการสอน คณะสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สิรินธร สินจินดาวงศ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้และการสอน

คำสำคัญ:

ซอฟท์สกิลล์, การพัฒนา, ระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา
จรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 2) เพื่อออกแบบและพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และ 3) เพื่อเปรียบเทียบจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ใช้บัณฑิตในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 5 คน และตัวแทนนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 จำนวน 156 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงสำหรับการทดสอบสมติฐาน ใช้ค่า Paired – Sample t-test ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานของนักศึกษา โดยจัดลำดับความสำคัญ 3 ลำดับแรก ดังนี้ ความสามารถในการปรับตัวในการทำงาน ทักษะการสื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ 2) การออกแบบและพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจรณทักษะ (Soft Skills)  ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต นักศึกษาทั้ง 5 คณะ จัดรูปแบบของหลักสูตรแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การบรรยาย เชิงปฏิบัติการ และการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ แผนการจัดกิจกรรมกำหนด 7 ขั้นตอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) 3) การเปรียบเทียบจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะ การประเมินการวัด Soft Skills (ก่อนการพัฒนา-หลังการพัฒนา) ในภาพรวมจำแนกเป็นรายด้าน โดยรวมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.63 และโดยรวมหลังการพัฒนา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.76 ผลการเปรียบเทียบSoft Skills ในการทำงานหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

Bangkok Bank. (2020). Soft Skills needed to work. Retrieved from https://www.bangkokbanksme.com /en/soft-skills-work. [in Thai].

Chaiya, S., Siribanpitak, P. & Sumettikoon, P. (2015). Lifelong Learning Skills of University Students: Theoretical Framework. Journal of Social Science and Humanities Research in Asia, 21(3): 149-176. [in Thai].

Chotikeerativatch, C. & Ariratana, W. (2017). Needs Assessment for Soft Skills Development in Teachers’ Learning Management in Schools under The Secondary Educational Service Area Office 25. KKU Research. Journal of Humanities and Social Sciences (Graduate study), 5(1), 44-52. [in Thai].

Inta, M. (2019). Soft Skills: The Essential Skills to Be professionalism of The Modern Teachers. Journal of Education, 20(1), 153-167. [in Thai].

Jamjan, L. (2007, February). The Learning Model for Development of Nursing Innovation. The 45th Kasetsart University Annual conference, Bangkok. [in Thai].

Jessy, J. (2010). Relevance of Employee Development Plans in Employee Performance Management. Pacific Business Review, 4(12), 19-27.

Kathry Bartal. M. and David C. Martin. (1991). Management. New York: McGraw Hill.

Keamanee, T. (Ed.) (2006). Teaching methods for professional teachers. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai].

Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (2020). Fiscal Year Action Plan 2021 for Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. Retrieved from https://www.ops.go.th/main/images/2563/pusit/Docs/ActionPlanOPS2564.pdf. [in Thai].

Miriam, L., Matteson, L. A., & Cynthia, B. (2016). Soft Skills”: A Phrase in Search of Meaning. Libraries and the Academy, 71-88.

Nithikartpanich, C. (2021). The Study Management using Active Learner with Soft Skill. Retrieved from https://erp.mju.ac.th/ acticleDetail.aspx?qid=940. [in Thai].

Office of the Basic Education Commission. (2013). Information Technology for Education. Retrieved from https://data.bopp-obec.info/emis/news/news_view.php?ID_New=1936. [in Thai].

Office of the Council of State. (2019). Administrative Regulation Act of Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation 2019. Bangkok. [in Thai].

Phuket Rajabhat University. (2019). Manual for internal education quality assurance, 67. https://qa.pkru.ac.th/services-activities/doc/407 [in Thai].

SrisathitNarakun, B. (Ed.). (2010). Research Methodology in Nursing Science. Bangkok: U & I INTER MEDIA. [in Thai].

Tashana Khammanee. (2006). Teaching methods for professional teachers. Bangkok: Chulalongkorn Publishing House University. [in Thai].

Vroom, H. V. (1996). Work and Motivation. Now York: Wiley and Sons Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30