การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง รูปหลายเหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด

ผู้แต่ง

  • ลลิตา ธนวิบูลย์เกียรติ สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทรงชัย อักษรคิด ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง รูปหลายเหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 27 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 3 ห้องเรียน โดยแต่ละห้องเรียนจัดนักเรียนแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นการคิด เรื่อง รูปหลายเหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 แผน และแบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง รูปหลายเหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบ่งออกเป็นแบบวัดชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก วัดตามองค์ประกอบในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในด้านการระบุข้อตกลงเบื้องต้น การอนุมานและการนิรนัย องค์ประกอบละ 2 ข้อ รวม 6 ข้อ และแบบวัดชนิดอัตนัย วัดตามองค์ประกอบของสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในด้านการประเมินข้อสรุปและการตีความองค์ประกอบละ  2 ข้อ รวม 4 ข้อ รวมทั้งฉบับ 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคำนวณ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (One sample t-test)

ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง รูปหลายเหลี่ยม โดยเฉลี่ยของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Amporn, M. (2003). Mathematics: teaching and learning. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai].

Anurutwong, U. (2012). High Level of Thinking Skills: How to Develop. Bangkok: Inthanon. [in Thai].

Bellanca, James and Brandt, Ron. (2010). 21 Century Skills: Rethinking How Students Learn. USA: Solution Tree Press.

Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2012). Guideline for Learning Management in Mathematics Thinking. (2nd ed.). Bangkok: Chumnumkasetakorn printing. [in Thai]

Kuntaree, P. (2014). A Study of Critical Thinking Components of Upper Secondary School Students. BU Academic Review, 13(2), 95-108. [in Thai].

National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2019). Report on the results of the test the national level basic O-Net Grade 6 Year 2562. Retrieved from http://www.niet.or.th. [in Thai]

Office of the Royal Society. (2015). 80 years of Royal Institute. Bangkok: The Royal Institute. [in Thai]

Paphawara, P. (2019). Guideline for Active Learning Management. Retrieved from https://www.sesao30.go.th/module/view.php?acafile=5dc3e29c7ee16_Guidelines for teaching and learning_Active_Learning1.pdf. [in Thai]

Sarinya, M. (2019). Developing Critical Thinking Skills in the 21st Century. Journal of MCU Nan Review, (3)2, 105-122. [in Thai].

Shaver, Kelly G. (1977). Principal of Social Psychology. Massachusetts: Cambridge, Wintrop Publishing.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2018). PISA 2018 Results: What Thai Students Know and Can Do. Bangkok: IPST Publishing. [in Thai].

Watson, G. & Glaser, E.M. (2002). Watson-Glaser critical thinking app. Revisal Manual. New York: Harcourt, Brance & World.

Watchara, L. (2017). Active learning instructional strategies for thinking development and educational improvement of the 21st century. Nakhon Pathom: Phetkasem Printing Group Co., Ltd. [in Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30