แนวทางการบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพใน โรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

ผู้แต่ง

  • ไพฑูรย์ ขุนทอง สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พร้อมพิไล บัวสุวรรณ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มีชัย ออสุวรรณ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การบริหารพัสดุและสินทรัพย์, โรงเรียนมัธยมศึกษา, แนวทางการบริหาร, ประสิทธิภาพการบริหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานพัสดุและสินทรัพย์ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ประชากรในการวิจัย คือ ผู้อํานวยการโรงเรียน รองผู้อํานวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ ครูและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่งานพัสดุและสินทรัพย์ ในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จํานวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์ มีผู้ให้สัมภาษณ์ 4 คน คัดเลือกแบบเจาะจง จากผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ด้านงานพัสดุและสินทรัพย์และเจ้าหน้าที่พัสดุและสินทรัพย์ที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา (Narrative)
ผลการวิจัย
1. สภาพการดำเนินงานพัสดุและสินทรัพย์ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยภาพรวมสภาพปัญหาการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เป็นรายด้าน จำนวน 6 ด้าน
2. แนวทางการบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ดังนี้ ในการศึกษาแนวทางการบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ผู้วิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางในการบริหารงานพัสดุและสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้
1) ด้านการวางแผนและกำหนดความต้องการพัสดุ จัดทำและกำหนดปฏิทินงาน เพื่อดำเนินงานล่วงหน้าตามแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง จัดประชุมและสร้างความเข้าใจต่อผู้ปฏิบัติงาน จัดตั้งเจ้าหน้าที่พัสดุกลุ่มสาระการเรียนรู้และกลุ่มบริหาร การจัดซื้อจัดจ้างเจ้าหน้าที่พัสดุของกลุ่มงานสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ นำเทคโนโลยีกลุ่มออนไลน์ที่ใช้เฉพาะผู้ปฏิบัติงานพัสดุและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารการจัดซื้อจัดจ้างและสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและวางแผนให้ทราบระยะเวลาในการจัดซื้อจัดจ้าง งานพัสดุจัดทำขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง
2) ด้านการจัดโครงสร้างองค์กรงานพัสดุ จัดหาบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวที่มีความชำนาญในตำแหน่งหน้าที่ ตรงกับความสามารถและความต้องการ บุคลากรที่มีความต้องการทำงานพัสดุ คัดเลือกครูและบุคลากรโรงเรียนที่มีความชำนาญในตำแหน่งหน้าที่และมีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติงานล่วงเวลา เสียสละเวลาและมีความรับผิดชอบ และจัดให้มีอบรมให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงานพัสดุและผู้ที่สนใจงานพัสดุและสินทรัพย์ปีละ 2 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและสร้างแรงกระตุ้นความเข้าใจในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้กับผู้ที่สนใจงานพัสดุ
3) ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าอบรมจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนางาน พัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน สร้างความรู้ ความเข้าใจในการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบ e-GP การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง จัดทำคู่มือการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบ e-GP โดยเฉพาะทุกขั้นตอนโดยละเอียดให้กับผู้ปฏิบัติงานพัสดุ โดยสามารถให้ผู้ปฏิบัติงานพัสดุสามารถเข้าไปดูรายละเอียดโครงการได้หรือเพื่อให้การดำเนินงานสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างคล่องตัว โรงเรียนจัดให้มีเจ้าหน้าที่เฉพาะในการดูแลการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบ e-GP โดยตรง
4) ด้านการจัดทำระบบเอกสารพัสดุ การจัดเก็บเอกสารให้เป็นหมวดหมู่เอกสาร เช่น การคัดแยกจัดเก็บเอกสารในหมวดประเภทวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง เฉพาะเจาะจง ประกาศเชิญชวน หรือคัดเลือก การคัดแยกจัดเก็บเอกสารเป็นปีงบประมาณ หรือประเภทของเงิน การคัดแยกจัดเก็บเอกสารตามประเภทวัสดุครุภัณฑ์ งานจ้าง การซ่อมบำรุง สามารถทำให้การจัดเก็บ สืบค้นข้อมูลสะดวกรวดเร็วขึ้น และโรงเรียนสามารถปรับใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเข้ามาประยุกต์นำเอกสารเข้าระบบเพื่อความคล่องตัวได้อย่างเหมาะสม
5) ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศด้านงานพัสดุ โรงเรียนควรจัดทำการประเมินความพึงพอใจในงานและผู้ปฏิบัติงานพัสดุในแต่ละปีงบประมาณ หรือในแต่ละภาคเรียน ให้ผู้ปฏิบัติได้รับทราบสาเหตุต่าง ๆ ของปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อลดความขัดแย้ง การเกิดความไม่เข้าใจกันในระหว่างปฏิบัติงานของผู้เกี่ยวข้างในสถานการณ์ต่าง ๆ ระหว่างการดำเนินงาน หรือการผลัดเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ในแต่ละปี ในการประเมินช่วงแรกอาจเกิดปัญหามากมายของ
ผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง หากโรงเรียนสามารถทำการประเมินในทุกปีจะช่วยลดการเกิดปัญหาดังกล่าว และเกิดความล่องตัวให้การทำงานเป็นไปในทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6) ด้านการบริหารพัสดุ นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การปฏิบัติงานให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นจัดทำเครือข่ายระบบส่วนกลางของโรงเรียน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงานออนไลน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เช่น การแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์หรืออาคารสถานที่ต่าง ๆ สามารถแจ้งออนไลน์ กรอกแบบฟอร์มให้ผู้ดูแลและผู้รับผิดชอบได้รับเรื่องได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อการแก้ไขปัญหา ลดขั้นตอน เอกสารในการดำเนินงาน

References

Amchum, S. (2016). Problems in parcel management of the Office of the Teachers Commission and Educational Personnel. Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. [in Thai].

Bunta, R. (2018). Problems and guidelines for the development of parcel management of secondary schools in the group of Saha Campus, Phanom Sarakham School Under the Office of Secondary Education Service Area 6. Master of Education Thesis education administration, Burapha University. [in Thai].

Khamiam, Y. (2020). Development of a manual for parcel management in educational institutions Under the Office of Secondary Education Service Area, Region 1. Kasetsart University, Bangkok. [in Thai].

New government reform. (2014). Retrieved July 12, from http://resolver.caltech.edu/

CaltechETD:edt-05282004-000943http://www.thairath.co.th/content/434436. [in Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30