การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ด้วยหลักการไมโครเลิร์นนิงสำหรับการฝึกอบรมผ่านเทคโนโลยีเคลื่อนที่ของข้าราชการ สำหรับข้าราชการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

ผู้แต่ง

  • ศิรวุฒิ แสงวิสุทธิ์ สาขาวิชาหลักสูตรเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วัตสาตรี ดิถียนต์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์, หลักการไมโครเลิร์นนิ่ง, การฝึกอบรมผ่านเทคโนโลยีเคลื่อนที่

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ด้วยหลักการไมโครเลิร์นนิงสำหรับการฝึกอบรมผ่านเทคโนโลยีเคลื่อนที่ของข้าราชการ สำหรับข้าราชการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ เรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ตของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ก่อนและหลังการรับชมสื่อวีดิทัศน์ไมโครเลินร์นิงในการฝึกอบรม  กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการประเภทวิชาการและทั่วไป ในระดับปฏิบัติการและชำนาญการ สำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในช่วงอายุ 25 - 40 ปีขึ้นไป มีอายุราชการมากกว่า 2 ปีขึ้นไป โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก 1 สำนักงาน ได้มาจำนวน 30 คน ด้วยสื่อวีดิทัศน์ micro – learning และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ เรื่อง การใช้อินเตอร์เน็ต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test (dependent t-test)

ผลการวิจัยคือ 1) ผลการประเมินสื่อวีดิทัศน์ด้วยหลักการไมโครเลิร์นนิ่งเพื่อส่งเสริมความรู้สำหรับการฝึกอบรมผ่านเทคโนโลยีเคลื่อนที่ของข้าราชการ สำหรับข้าราชการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมพบว่า สื่อวีดิทัศน์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากและมีความเหมาะสม 2) ผลการเปรียบเทียบความรู้ เรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ต ของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ก่อนและหลังการฝึกอบรมด้วยสื่อวีดิทัศน์ไมโครเลินร์นิง พบว่า หลังการฝึกอบรมด้วยสื่อวีดิทัศน์ไมโครเลินร์นิง ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมมีความรู้เรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ต ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

References

Aitchanov, B., Satabaldiyev, A., & Latuta, K. (2013). Application of Micro-learning technique and Twitter for educational purposes https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1742-6596/423/1/012044/pdf

AllenComm. (2019). What is microlearning? https://www.allencomm. com/what-is-micro learning.

Arjun, S. (2018). Why Adopt Micro-learning? The Ultimate Guide. https://playxlpro.com/why-adopt-Micro-learning-answering-the-frequentlyasked-questions.

Frank Russell. (2018). 6 Reasons Micro-Learning Will make a Huge Impact in Your Organization. https://prositions.com/dashtrain/6-reasons-micro-learning-will-make-a-huge-impact-in-your-organization-webinar.

Howell. 1994. Evaluation of Intensive Television for Teaching Basic Electricity, Audio - Visual Communication Review. 5(s):10-13 .

Wang, Z., Luo, Y., & Qu, Y. (2017). Application of Micro-lecture For Engineering Mechanics Experimental Teaching. https://www.ijires.org/administrator/ components/comjresearch/ files/publications/IJIRES_852_FINAL. Pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31