การประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • จารุพรรณ พุทธา สาขาวิจัยและประเมินทางการศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พิกุล เอกวรางกูร ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็น, การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ

บทคัดย่อ

การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการจำเป็น 2) วิเคราะห์สาเหตุความต้องการจำเป็น และ 3) เสนอแนวทางการแก้ไขสาเหตุความต้องการจำเป็น ผู้ให้ข้อมูลคือครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณ 198 คน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการจำเป็น โดยใช้ความถี่ ร้อยละ เทคนิคการคำนวณด้วย Modified Priority Index (PNI modified) และการวิเคราะห์เมทริกซ์ วิเคราะห์สาเหตุและแนวทางการแก้ไขด้วยกระบวนการกลุ่มแบบเทคนิคกลุ่มสมมตินัย

ผลการประเมินพบว่า 1) ครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณมีความต้องการจำเป็นความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อการเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่า gif.latex?PNI_{modified}  เท่ากับ .624 เมื่อวิเคราะห์ผลด้วยเมทริกซ์พบว่าผลการดำเนินการยังไม่สำเร็จ ต้องทำการแก้ไขปรับปรุง โดยมีสาเหตุคือครูขาดช่องทางในหาความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อ การแก้ไขคือจัดรวบรวมแหล่งเรียนรู้ทางออนไลน์ให้ครูสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ 2) ครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณมีความต้องการจำเป็นความสามารถในการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดเพื่อนำมาออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่า gif.latex?PNI_{modified} เท่ากับ  .511 เมื่อวิเคราะห์ผลด้วยเมทริกซ์พบว่าผลการดำเนินการยังไม่สำเร็จ ต้องทำการแก้ไขปรับปรุง สาเหตุมาจากครูไม่สามารถวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดได้ การแก้ไขคือสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนรู้ 3) ครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณมีความต้องการจำเป็นความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณด้วยโปรแกรม Scratch,เว็บไซต์ code.org และกิจกรรม Unplug โดยการไม่ใช้คอมพิวเตอร์รวมถึงกิจกรรมอัลกอริทึมที่สร้างขึ้นเอง มีค่า gif.latex?PNI_{modified} เท่ากับ  .753  เมื่อวิเคราะห์ผลด้วยเมทริกซ์พบว่าผลการดำเนินการไม่สำเร็จ ต้องทำการแก้ไขปรับปรุง สาเหตุเกิดจากการวางแผนครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณของโรงเรียนไม่ต่อเนื่อง ทำให้ครูไม่สามารถปรับปรุงพัฒนาตนเองได้อย่างสม่ำเสมอ การแก้ไขคือโรงเรียนกำหนดนโยบายวิชาวิทยาการคำนวณในระยะยาวให้ชัดเจน 4) ครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณมีความต้องการจำเป็นการส่งเสริมการอบรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ มีค่า gif.latex?PNI_{modified} เท่ากับ  .939  เมื่อวิเคราะห์ผลด้วยเมทริกซ์พบว่าผลการดำเนินการไม่สำเร็จ ต้องทำการแก้ไขปรับปรุง สาเหตคือครูผู้สอนขาดการพัฒนาตนเอง การแก้ไขเพิ่มช่องทางไลน์กลุ่มเพื่อขับเคลื่อนการเข้าร่วมการอบรมและติดตามผลของการอบรม และ 5) ครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณมีความต้องการจำเป็นความสามารถการส่งเสริมการอบรมการใช้สื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่า gif.latex?PNI_{modified} เท่ากับ  .803  เมื่อวิเคราะห์ผลด้วยเมทริกซ์พบว่าผลการดำเนินการไม่สำเร็จ ต้องทำการแก้ไขปรับปรุง สาเหตุเกิดจากการจัดการอบรมไม่ทั่วถึง การแก้ไขคือสนับสนุนงบประมาณในการอบรมวิชาวิทยาการคำนวณเชิงปฏิบัติ

References

Policy and Plan Group Primary Level Teacher in Ratchaburi Primary Educational Service Area 2. (2019). Fiscal Year 2019 Action Plan. http://rb2.go.th/index.php.[in Thai]

Sangkhawethai. J. (2019). Solving doubts coding and Computing Science A helper to organize the thinking process of Thai children in the 4.0 era. https://www.matichon.co.th/advertorial/news_1675631.[in Thai]

Kong, S.T.. (2019). A Case Study on Elementary Teachers’ Experiences Teaching Computer Science. https://www.proquest.com/openview/ 7a01a19766f06d3486e428d5f30296f9/1?pq-origsite=gscholar&cbl=18750&diss=y

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2017). Course Manual Technology (Computing Science) Science Learning Subject Group (Update B.E. 2560) Primary level and Secondary level. https://www.scimath.org/ebook-technology/item/8376-2560-2551.[in Thai]

Thewaksorn. T. (2019). Computing Science A new world that challenges Thai teachers and students. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1544733.[in Thai]

Newman, T.R. (2017). Computer science lesson study : building computing skills among elementary school teachers. https://digitalcommons.uri.edu/oa_diss/567/

Wongwanich, S. (2558). Need-Based Research Assessment. Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Yasaka, S. (2019). A study of current conditions, problems and needs in computer science management. King Mongkut’s University of Technology Thonburi. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31