การศึกษาความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ตามแนวคิดของวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • มนตรี ลาภตระการ โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
  • ทรงชัย อักษรคิด สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์, แนวคิดตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT, ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ ตามแนวคิดของวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา จำนวน 3 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 120 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียนทั้งหมด 39 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ ตามแนวคิดของวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต วิเคราะห์ข้อมูลความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ หลังเรียน จากแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ โดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอ้างอิง ได้แก่ one-sample t-test เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน

ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต หลังจากการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ ตามแนวคิดของวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT อยู่ในระดับดีเยี่ยมและดีมาก โดยคิดเป็นร้อยละ 30.77 เท่ากัน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Athikiat, K. and T. Santhuenkaew. (2017). Modern teaching and new teaching techniques. Retrieved from httrp://ww.regis.skru.ac.th/RegisWeb/webpage/addnews/data/2017-07-24_078.pdf. [in Thai]

Ban-Kluai, S. (2013). The effect of the 4MAT teaching and learning on mathematical achievement and mathematical connection skills in measurement. Veridian E-Journal. 3(6), 193 – 210. [in Thai]

Billing, R. L. (2007). Asessment of the learning cycle and inquiry-based learning in high school physics education. (Masters’s thesis). Michigan state University.

Hophaisan, S. (2001). Development of teaching and learning systems through general education courses to increase learning efficiency of learners. Retrieved from https://www.dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/120438. [in Thai]

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology IPST. (2012). Mathematical skills and processes. Bangkok: Academic development IAD. [in Thai]

Jamjang, S. (2020). The effects of 4 MAT model learning activities management in the topic of foundation of geometry on mathematics learning achievement and attitude towards mathematics learning. Journal of Kanchanaburi Rajabhat University. 1(9), 4 – 12. [in Thai]

McCarthy, B. and S. Morris. (1990). 4MAT in Action I and ll. Barrington U.S.A.: Excel Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30