การประเมินโปรแกรมฝึกอบรมการเลี้ยงดูเชิงบวกสำหรับผู้ปกครองในการพัฒนาพฤติกรรมความรับผิดชอบของบุตรที่มีภาวะสมาธิสั้น

ผู้แต่ง

  • นวลพรรณ วิชิตกิ่ง สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การประเมินโปรแกรม, การฝึกอบรมผู้ปกครอง, การเลี้ยงดูเชิงบวก, บุตรที่มีภาวะสมาธิสั้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินโปรแกรม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโปรแกรมฝึกอบรมการเลี้ยงดูเชิงบวกสำหรับผู้ปกครองในการพัฒนาพฤติกรรมความรับผิดชอบของบุตรที่มีภาวะสมาธิสั้นที่สร้างขึ้นสำหรับกรณีเฉพาะผู้ปกครองที่เกี่ยวข้องเป็นมารดาที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาล โดยประยุกต์โมเดลการประเมินเคาน์ทิแนนท์ของ         โรเบิร์ต สเตค มิติการประเมิน ประกอบด้วย 1) การประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมฝึกอบรมฯ 2) การประเมินการนำโปรแกรมฝึกอบรมฯ ไปปฏิบัติและ 3) การประเมินผลของการใช้โปรแกรมฝึกอบรมฯ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ตามลำดับมิติการประเมินดังนี้ (1) แบบประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมฝึกอบรมฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน (2) แบบสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือขณะร่วมกิจกรรมของมารดาผู้เข้ารับการอบรมและ (3) แบบประเมินผลการใช้โปรแกรมฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย แบบวัดความรู้การเลี้ยงดูบุตรเชิงบวกหลังการอบรม และ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างหลังจบการอบรม 1 สัปดาห์ เพื่อติดตามพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรเชิงบวกของผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้การวิเคราะห์สารสนเทศทั้งสามมิติและสรุปคุณค่าของโปรแกรมอบรมการเลี้ยงดูบุตรเชิงบวกกรณีผู้ปกครองที่รับผิดชอบบุตรที่มีภาวะสมาธิสั้นนั้น

ผลการประเมิน พบว่า 1) โปรแกรมฝึกอบรมฯ มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาเฉพาะของผู้ปกครองกรณีที่เลือกมาศึกษามีความสอดคล้องกับเนื้อหาโปรแกรมกับวิธีการนำโปรแกรมไปใช้ และเครื่องมือประเมินผลของโปรแกรม 2) การนำโปรแกรมฝึกอบรมฯ ลงสู่การปฏิบัติ ผู้ปกครองเข้าอบรมตรงเวลาที่นัดหมายทุกครั้ง มีความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกครั้งและ ส่งรายงานการฝึกใช้ในสถานการณ์จริงทุกครั้งรวมถึงร่วมอภิปราย        เพื่อตรวจสอบความเข้าใจการใช้ความรู้ในแต่ละครั้ง  3) ผู้ปกครองมีผลการทดสอบวัดความรู้ความสามารถหลังจบ การอบรมอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 95) และได้นำหลักการจากการอบรมไปใช้กับบุตรในสถานการณ์จริง พบการเปลี่ยนแปลงของบุตรในเรื่องของความรับผิดชอบในทางที่ดี กล่าวโดยสรุปโปรแกรมฝึกอบรมการเลี้ยงดูเชิงบวกที่สร้างขึ้นนี้มีคุณค่าต่อการให้ความช่วยเหลือผู้ปกครองในการพัฒนาพฤติกรรมความรับผิดชอบของบุตรที่มีภาวะสมาธิสั้นได้

References

Department of Mental Health. (2021). DSPM-based Preschool Parenting Program: Tripple -p. Nonthaburi. Department of Mental Health. [in Thai]

Kyriazos, T. A., & Stalikas, A. (2018). Positive parenting or positive psychology parenting? Towards a conceptual framework of positive psychology parenting. Psychology, 9(07), 1761.

Konkaew, P., Seree, P., Kiatrungrit, K. & Uyapas, S. (2020). The Effects of Parent Management Training Program on Knowledge, Attitude, and Child Caring for the Children with Learning Disability. Journal of Ratchasuda College for Research and Development of Persons with Disabilities. 16(2), 52-64. [in Thai]

Pornnoppadol, C. (2018). Attention Deficit Hyperactivity Disorder. (4thed.). Siriraj Press. [in Thai]

Seligman, M.E.P., & Csikszentmihalyi, M. (2000) Positive psychology: An Introduction. American Psychologist, 55(1), 5–14. doi.org/10.1037/0003-066X.55.1.5

Stake, R. E. (1967). The countenance of educational evaluation. Teachers college record, 68(7), 523-540

Kyriazos, T. A., & Stalikas, A. (2018). Positive parenting or positive psychology parenting? Towards a conceptual framework of positive psychology parenting. Psychology, 9(07), 1761.

Yeesunsri, N., Apinuntavec, S., Pornnoppadol, C. & Yongyuan, B. (2021). The effectiveness of parent management training program on self-efficacy and parenting of ADHD-children’s parents. International Journal of Child Development and Mental Health, 9(1), 11-21. [in thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31