แนวทางการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง “เกษตรศาสตร์ศึกษา พิพิธพาเพลิน” โดยใช้แนวคิด เรื่อง การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของไมเคิล ไบรัม ร่วมกับการสร้างสรรค์สื่อนิทรรศการเสมือนจริง ในจักรวาลนฤมิต

ผู้แต่ง

  • ชวพันธุ์ เพชรไกร สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศศิธร จ่างภากร โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
  • วรวรรณ ศรีสงคราม โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

คำสำคัญ:

การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม, นักสื่อสารความหมาย, ท้องถิ่น, สื่อนิทรรศการเสมือนจริง, จักรวาลนฤมิต, ยุควิถีถัดไป

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ”เกษตรศาสตร์ศึกษา พิพิธพาเพลิน” สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครู ซึ่งเป็นรายวิชาชีพครูของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้แนวคิดเรื่องการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของไมเคิล ไบรัม ร่วมกับการสร้างสรรค์สื่อนิทรรศการเสมือนจริงในแพลตฟอร์มจักรวาลนฤมิต ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดดังกล่าว มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้
2) ด้านทัศนคติ 3) ด้านทักษะในการค้นคว้าสืบเสาะและปฏิสัมพันธ์ 4) ด้านการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ และ 5) ด้านทักษะในการตีความและเชื่อมโยง ซึ่งแนวคิดนี้เป็นฐานในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวัฒนธรรมให้แก่นิสิตครูได้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นแม่นยำความรู้สำคัญ พิพิธภัณฑ์สะท้อนคิด 2) ขั้นร่วมพินิจ
อัตลักษณ์ แจ้งประจักษ์ความหลากหลาย 3) ขั้นท้าทายให้สืบเสาะ สกัดเหมาะนำสร้างสื่อ 4) ขั้นหมั่นฝึกปรือเพียรวิพากษ์ ตระหนักจากวิจารณญาณ และ 5) ขั้นเก่งชำนาญการตีความ เห็นแง่งามอย่างเชื่อมโยง การศึกษานี้จึงเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นิสิตครูมีความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมผ่านการเป็น
“นักสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรมการเกษตร” ตลอดจนเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มจักรวาลนฤมิตเพื่อจัดการเรียนรู้ในยุควิถีถัดไป

References

Boonlue, S. (2022). Metaverse for Education:The Connection between the Metaverse with The Real World of Learning to Create Immersive Learning. Journal of North Bangkok University, 11(1), 9-16.

Byram, M. (1997). Teaching and Assessing Intercultural Communicative Competence. Multilingual Matters.

Byram, M. (2009). The intercultural speaker and the pedagogy of foreign language education. In D. K. Deardorff (Ed.), The Sage Handbook of Intercultural Competence (pp. 14-21). Sage.

Chiengkham, R., Nilsook, P. & Wannapiroon, P. (2014). The 3D Virtual Exhibition about the Social and Cultural Development in Thailand Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre. Editorial Journal of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 5(2), 85-93.

Freire, P. (2005). Education for Critical Consciousness. Continuum International Publishing.

Karnchanapayap, G., & Chaetnalao, A. (2021). The Development of virtual reality as a new buddhism learning medium. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(6), 48-64.

Koolsriroj, U. (2021). Phenomenon-Based Learning in Language and Culture Classrooms In Ugsonkid, S. (Ed.), Phenomenon-Based Learning (pp. 81-89). Faculty of Education Kasetsart University. [in Thai]

Lookjansook, P., & Kultawanich, K. (2019). Exhibition showing photos to promote the image of virtual agriculture Online for the young generation. Journal of Rattana Bundit University, 14(2), 1-16.

Muangasame, K., & Amnuay-ngerntra. S. (2019). Handbook for the development of community meaningful communicators. Designated Areas for Sustainable Tourism Administration Public Organization. [in Thai]

Nimmanahaeminda, P. (2006). Ya Khwan Khao: Literature for continuation of local traditions. Institute of Thai Studies Chulalongkorn University. [in Thai]

Srisawad, P., Naepimai, N., Sawangjan, S., & Kaewsatian, P. (2019). Local Interpreters Development for Tourism Enhancement in Donsak District, Suratthani Province. Journal of International and Thai Tourism, 15(1), 150-166.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30