แนวทางการพัฒนาความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก: การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์

ผู้แต่ง

  • จณิสตา กองคำ สาขาวิชาการวิจัยและประเมินทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อุษณี ลลิตผสาน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์ ประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ 2) การระบุความต้องการจำเป็น 3) การวิเคราะห์สาเหตุ และ 4) การกำหนดแนวทางการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ด้านการจัดการเรียนรู้ของที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 175 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม คือ ครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษานิเทศก์ และผู้อำนวยการสถานศึกษา กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินความต้องการจำเป็น แบบบันทึกการสร้างแผนภูมิก้างปลา และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย PNImodified การวิเคราะห์เมทริกซ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ฯ ของครูวิทยาศาสตร์ทุกด้านอยู่ในระดับ “ดี” 2) ความต้องการจำเป็นสูงสุดในการจัดการเรียนรู้ฯ ของครูวิทยาศาสตร์ คือ ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ และด้านการจัดการเรียนรู้ (PNImodified = 0.162) โดยมีสาเหตุที่สำคัญ คือ เนื้อหาที่มากเกินไป ครูขาดแนวทางในการจัดการเรียนรู้ฯ และ 3) แนวทางในการพัฒนาความสามารถของครูวิทยาศาสตร์ คือ ควรมีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ฯ ให้แก่ครู โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การนิเทศการจัดการเรียนรู้ การอบรมเชิงปฏิบัติการ

References

Buachoon, N., Yutakom, N., & Suwanruji, P. (2016). The Study of the State Teaching and Learning of Science for Quality of Life in General Education. VRU Research and Development Journal, 11(2), 97-109. [in Thai]

Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2010). Learning Management’ Guidelines for the Basic Education Core Curriculum B.E.2551. The Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Limited Printing House. [in Thai]

Chaowakeratipong, N. (2017). Lesson Plans Writing in Instructional Science Subject. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 111-127. [in Thai]

Chomjan, S., Chaktrimongkhol, U., & Trakoonvorakun, K. (2022). A Needs Assessment of the High School Teachers for Measurement and Evaluation Learning Skill Using Kano Model. Journal of Education Measurement, 39(105), 216-226. [in Thai]

Hansopa, R., Subhakicco, S., Chusorn, P., Somsuwan, S., & Bungsane, P. (2020). Learning Management in 21st Century: Theory toward Implementation. Dhammathas Academic Journal, 20(2), 165-172. [in Thai]

Jaiwanglok, B., Comesorn, S., & Suwannawat, K. (2019). The Study of Needs Assessment in the Developmant of Ability in Learing Management of Teacher under the Office of Primary Education, Service Area 3. Humanities and Socail Science Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, 12(2), 470-485. [in Thai]

Khongcharoen, P. (2021). Learning and Innovation Skills: The Important Characteristic of Global Citizens in a Value-based Economy. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 15(3), 165-177. [in Thai]

Kim, S., Raza, M., & Seidman, E. (2019). Improving 21st-century teaching skills: The key to effective 21st century learners. Research in Comparative & International Education, 14(1), 99-117.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Ministry of Education. (2017). Indicators and Core Learning Material of Science and Techonology Learning Content (Revised Version 2017) According to the Basic Education Core Curriculum B.E.2551 (A.D.2008). The Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Limited Printing House. [in Thai]

Office of the Education Council. (2012). A Development of the Teachers and Education Personnel Development Policy. Prikwarn Graphic CO.,LTD. [in Thai]

Partnership for 21st Century Skills. (2011). 21st Century Skills. https://www.p21.org

Saengngam, J., Tippayakulpairoj, D., Hitakowit, S., & Klyprayong, R. (2020). A Needs Assessment of Active Learning of Faculty of Education Lecturers. Journal of Education Studies, 48(4), 59-75. [in Thai]

Sudrung, J., & Thanompongchart, P. (2018). Teacher Development: Solution to the Point. Journal of Education Studies, 46(2), 387-393. [in Thai]

Techanok, A., Jaronggsirawat, R., & Vatasatto, H. (2020). Educational Management in the 21st. Journal of MCU Nakhondhat, 7(9), 1-15. [in Thai]

The Secondary Educational Service Area Office Prachinburi Nakhon Nayok. (2020). Action Plan for Budget Year 2020. The Secondary Educational Service Area Office Prachinburi Nakhon Nayok. [in Thai]

Thepprathoon, S., & Tonwimonrat, S. (2018). The 21st century skills development guideline for students in the “moderate class more knowledge” pilot schools Banpong District. Journal of Education Administration, Silpakorn University, 9(2), 124-138. [in Thai]

Wongwanich, S. (2019). Needs Assessment Research (4th ed.). Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31