แนวทางการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ตามแนวคิดทักษะของนักเรียนในสังคม 5.0
คำสำคัญ:
ระบบนิเวศการเรียนรู้, ทักษะสังคม 5.0บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในสังคม 5.0 เป็นสิ่งสำคัญต่อการยกระดับความสามารถของนักเรียนให้พร้อมรับมือโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะของนักเรียนในสังคม 5.0 ของนักเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และลำดับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 3) ศึกษาสาเหตุของความต้องการจำเป็นของโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ และ 4) เสนอแนวทางพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โดยเป็นการวิจัยแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 530 คน โดยเปรียบเทียบจากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie & Morgan (1970) แล้วทำการแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามขนาดของโรงเรียน คือ โรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และข้อคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับทักษะของนักเรียนในสังคม 5.0 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.100) 2) สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ลำดับแรก คือ ทรัพยากรทางการศึกษา (PNIModified = 0.143) รองลงมา คือ วิธีการจัดการเรียนรู้ (PNIModified = 0.137) และที่มีลำดับความสำคัญต้องการจำเป็นลำดับสุดท้าย คือ ยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา (PNIModified = 0.081) 3) ด้านสาเหตุของความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านการจัดทำหลักสูตร มีความถี่มากที่สุด (f=150) 4) แนวทางการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 แนวทาง ดังนี้ 1. พัฒนาทรัพยากรทางการศึกษา 2. พัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ 3. พัฒนาการจัดทำหลักสูตร 4. พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 5. พัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 6. พัฒนายุทธศาสตร์ของสถานศึกษา
References
Independent Committee for Education Reform. (2021). National reform plan in education (Revised edition). http://nscr.nesdc.go.th/nesdc_uat/wp-content/uploads/2021/07/แยกด้าน-12-การศึกษา.pdf. [In Thai]
Khaemmanee, T. (2017). Teaching Styles: Multiple Choices (9th ed). Chulalongkorn University. [In Thai]
Lekkhao, M. (2017). Views of the Thai bureaucracy through the window of Society 5.0. Office of the Public Sector Development Commission. [In Thai]
Maneehaet, S., & Wannapiroon, P (2019). A digital learning ecosystem with artificial intelligence for smarter learning. Journal of Education Naresuan University, 21(2), 359-373. [In Thai]
Mascharat, T. & Prasong, N. (2006). Educational innovation. Than Aksorn. [In Thai]
Office of the Secretariat of the Council of Education. (2017). National Education Plan 2017-2036. Prikwan Graphic Co., Ltd. [In Thai]
Phayakkaso, W. (2016). Sayāmrat phlat bai: Thailand 4.0, reflecting the results to society 5.0. https://www.siamrath.co.th/n/3954. [In Thai]
Sakepol, W. (2021). Value of national budget spending. http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20210906-1.pdf. [In Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)