แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 5

ผู้แต่ง

  • อนันต์ ปิงยศ หลักสูตรการบริหารการศึกษา สำนักศึกษาทั่วไป วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ไตรรัตน์ สิทธิทูล หลักสูตรการบริหารการศึกษา สำนักศึกษาทั่วไป วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

การบริหารวิชาการ , ประสิทธิภาพ, การบริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 5 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 260 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม เรื่อง แนวทางการบริหารวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 5 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์และแปลผล
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน โดยรวมมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการและการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ
2. แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาควรจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับสภาพผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเหมาะสม มุ่งเน้นการวัดและประเมินตามสภาพจริง นำเทคโนโลยีมาช่วยในการวัดและประเมินผล ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด มีการตรวจสอบติดตาม และประเมินผล ส่งเสริมความร่วมมือขององค์กร ชุมชน ท้องถิ่น ในการพัฒนาการศึกษา

References

Adulpittayapor, P. (2012). Guidelines for developing academic administration for small secondary schools According to the concept of a collaborative network for developing student quality. [Unpublished doctoral dissertation]. Chulalongkorn University.

Apiwattanawan, M. (2016). Development of guidelines for academic administration in the development of learning processes for educational institutions under the Maha Sarakham Provincial Administrative Organization. [Unpublished doctoral dissertation]. Mahasarakham University.

Bangkok Secondary Educational Service Area Office 1. (2020, 25 August). Information Bangkok Secondary Educational Service Area Office 1. (sesao1). https://eoffice.sesao1.go.th/info.

Chumsak Intarak. (2002). Academic Administration. Pattani: Educational Technology Division, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, Pattani Campus.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal Education and Psychology Measurement. 3(30), 607-610.

Office of the Basic Education Commission. (2007). Guidelines for decentralizing administration and organizing Education shall be given to the Educational Service Area Office and Educational Institutions Committee in accordance with ministerial regulations to determine the criteria. and methods for decentralizing administration and education, B.E. 2007. Bangkok. Agricultural Cooperatives Association of Thailand Co., Ltd.

Runcharoen, T. (2010). Organization and administration of education in the era of educational reform. Khawfang.

Srisaat, B. (2002). Basic research (6th ed). Suwiriyasan.

Suriporn Pajaroen. (2016). Guidelines for Academic Management Promoting Students' Learning Skills in the 21st Century. (Master's thesis, Rajabhat University Banjong Bung Campus).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024