ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนจากการผสมผสานระหว่าง โลกเชิงกายภาพและโลกเชิงสัญลักษณ์ในชั้นเรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
คำสำคัญ:
มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ , โลกเชิงกายภาพ, โลกเชิงสัญลักษณ์, วิธีการแบบเปิดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้จัดทำขึ้นภายใต้บริบทการผสมผสานระหว่างโลกเชิงกายภาพกับโลกเชิงสัญลักษณ์ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน 2) ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนและแนวปฏิบัติของวิธีการสอนที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดถนนแค จำนวน 11 คน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบบันทึกภาคสนาม โดยค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ที่ 4.12
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์นักเรียนเกิดจาก แนวคิดจากการแก้ปัญหาผ่านสื่อรูปธรรม (โลกเชิงกายภาพ) และแนวคิดที่เกิดจากการคำนวณเชิงสัญลักษณ์ (โลกเชิงสัญลักษณ์) 2) วิธีการสอนที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ คือ วิธีการแบบเปิด วิธีการสอนลักษณะเช่นนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เพื่อเกิดการเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีความหมาย นอกจากนี้ ในการวิจัยนี้มีข้อค้นพบใหม่ คือ ภายหลังจากที่นักเรียนเกิดแนวคิดจากโลกเชิงกายภาพและโลกเชิงสัญลักษณ์ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่จะคิดอย่างเป็นคณิตศาสตร์จนกระทั่งเกิดเป็นความคิดรวบยอด
คำสำคัญ : ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ โลกเชิงกายภาพ โลกเชิงสัญลักษณ์ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
References
Becker, J. P., & Shimada, S. (1997). The Open-Ended Approach: A New Proposal for Teaching Mathematics. Reston, Virginia: National Council of Teachers of Mathematics.
Changsri, N. (2022). ‘There is not just one way to find the answer.’ A mathematics classroom that emphasizes process rather than product. Retrieved from https://thepotential.org/creative-learning/teaching-mathematics-open-approach. [in Thai]
Gray, E. M., & Tall D. O. (1992). Success and failure in Mathematics: Procept and procedure 1. A primary perspective. Published in Workshop on Mathematics Education and Computers, April 1992 (pp. 209–215). Taipei National University.
Inprasitha, M. (2006). Open-ended approach and teacher education. Tsukuba Journal of Educational Study in Mathematics, 25, 169-178. [in Thai]
Inprasitha, M. (2010). One feature of adaptive lesson study in Thailand: Designing learning unit. Proceeding of the 45th Korean National Meeting of Mathematics Education (pp. 193-206). Dongkook University. [in Thai]
Inprasitha, M. (2022). Lesson study and open approach development in Thailand: A longitudinal study. International Journal for Lesson and Learning Studies, 11(5), 1-15.
Inprasitha, M. (2024). Learning to think mathematically in Thai classroom using Thailand Lesson Study Incorporated with Open Approach (TLSOA). Proceeding of the National Academy of Mathematics Education (TSMED 10 ), February 3-4, 2024 (p. 2). Phra Nakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. [in Thai]
Makhanong, A. (2010). Skills and mathematical processes development for development. Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Petcharaporn, K. (2020). Learning management science. Faculty of Education, Suan Sunandha Rajaphat University. [in Thai]
Saengpun, J & Kanchaisak, P. (2017). From Embodied to Symbolic World: Learning Process in Addition of First Grade Students in
Classroom taught through Open Approach. Journal of Inclusive and Innovative Education,1(1), 53-67.[in Thai]
Suthisung N. (2013). The function of abstraction process for students’ concept formation through Mathematical activity in classroom using lesson study and open approach [Unpublished doctoral dissertation]. Khonkaen University. [in Thai]
Tall, D. (2004). Introducing three worlds of Mathematics. For the Learning of Mathematics, 23(3), 29–33.
Tall, D., & Isoda, M. (2007). Long-term development of mathematical thinking and lesson study. https://homepages.warwick.ac.uk/staff/David.Tall/ pdfs/dot2007x-tall-isoda-lessonstudy.pdf
Tall, D. (2013). How humans learn to think Mathematically: Exploring the three worlds of Mathematics. Cambridge University Press.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)