การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค KWL Plus รายวิชาภาษาไทยสำหรับอุดมศึกษา สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) รูปแบบของการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนรายวิชาภาษาไทยสำหรับอุดมศึกษา ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคนิค KWL Plus 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนรายวิชาภาษาไทยสำหรับอุดมศึกษา ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคนิค KWL Plus กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาไทยสำหรับอุดมศึกษา ในภาคเรียนปลายปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้อง นักศึกษาจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มตามแบบแผนการวิจัยแบบ Pre-Experimental Design แบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวสอบก่อนและสอบหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคนิค KWL Plus 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคนิค KWL Plus โดยจะวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (%) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคนิค KWL Plus สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาหลังจากการจัดการเรียนการสอน (=15.27, S.D.=1.015) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคนิค KWL Plus (=11.60, S.D.=2.343) โดยนักศึกษามีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ลำดับแรก คือ ทักษะด้านการวิเคราะห์เนื้อหา (=4.60, S.D.=.51) คิดเป็นร้อยละ 65.70 รองลงมาคือ ทักษะด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (=2.70, S.D.=.50) คิดเป็นร้อยละ 54.00 และลำดับสุดท้าย คือ ทักษะด้านการวิเคราะห์หลักการ (=1.93, S.D.=.51) คิดเป็นร้อยละ 48.30 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค KWL Plus โดยมีความพึงพอใจ ในระดับมาก (=4.12, S.D.=.59)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Bloom, B. (1971). Hand book on formative and summative evaluation of student learning. New York: Graw-Hill Book.
Chiao, C. (2014). Development of Thai reading skills using KWL Plus techniques for Chinese students studying Thai as a second language (Master of Arts Thesis). Chiang Rai Rajabhat University, Chiang Rai.
Daengprasert, D. (2006). Development of critical thinking skills and summarizing writing skills of Mathayomsuksa 2 students who manage learning using KWL Plus technique (Master's of Thesis). Silpakorn University, Nakhon Pathom.
Department of Academic Affairs. (2017). Potential of Thai children. Bangkok: Religious Publishing House.
Institute of Physical Education Yala Campus. (2013). General education section 2013. Yala: Institute of Physical Education Yala Campus.
Khemmani,T. (1997). Thinking and teaching to develop thinking process. Bangkok: Teaching Development Project Office of the National Education Commission, Office of the Prime Minister.
Khemmani, T. (2000). Thinking and teaching thinking: Collection of innovative learning articles for teachers in the educational reform era. Bangkok: Chulalongkorn University.
Khuha, P. (1999). Reading and reading promotion. Bangkok: Sillapa Bunnakarn.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Sweet Pepper Graphic.
Setaphan, J. (2011). Effect of teaching using KWL Plus technique and Project-Based Learning on Thai reading comprehension and metacognition of Prathom Suksa School Students 3 (Thesis Master of Education). Songkhla: Thaksin University.
Thai U Bun. (2002). Combined activities in curriculum. Bangkok: Sawang Suthep Printing.