ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบและการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ (4Cs) และสมรรถนะในการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพในวิชานวัตกรรมทางการพยาบาล

Main Article Content

กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง
อัจฉรา คำมะทิตย์
นพรัตน์ ธรรมวงษา
มัทนา พรมรักษา
นวภรณ์ ดอกชะบา
ทัศนีวรรณ กรุงแสนเมือง
อัจฉรา อาสน์ปาสา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบ และการเรียนรู้แบบสหสาขาอาชีพ ต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ (4Cs) และสมรรถนะในการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ ในวิชานวัตกรรมทางการพยาบาล รูปแบบการวิจัย เป็นวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบประเมินทักษะการเรียนรู้ (4Cs) และแบบสำรวจสมรรถนะในการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.82 และ 0.79 ตามลำดับ แบบสอบถามใช้ประเมินก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของทักษะ ก่อนและหลังการเรียนการสอน ด้วย Paired t-test


ผลการวิจัยพบว่า ได้นวัตกรรม ทั้งหมด 38 ชิ้นงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4Cs และสมรรถนะในการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ โดยรวม เพิ่มขึ้นหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.001 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4Cs ทุกด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทักษะที่เพิ่มขึ้นจากเดิมมากที่สุดคือ การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (t=6.69, p<.001) ตามด้วยการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ (t=4.11, p<.001) การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (t=3.81, p<.001) และการทำงานร่วมกับผู้อื่น (t=3.20, p<.01) ตามลำดับ


สรุปว่าการประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบ และการเรียนรู้แบบสหสาขาอาชีพ ในวิชานวัตกรรมทางการพยาบาลทำให้เกิดการพัฒนาทักษะสำคัญ 4 ด้าน (4Cs) ของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะในการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ ดังนั้น สถาบันการศึกษาทางการแพทย์ และสาธารณสุขควรนำมาประยุกต์ใช้ในวิชานวัตกรรม และวิชาอื่นๆ

Article Details

How to Cite
ตั้งหลักมั่นคง ก., คำมะทิตย์ อ., ธรรมวงษา น., พรมรักษา ม., ดอกชะบา น., กรุงแสนเมือง ท., & อาสน์ปาสา อ. (2022). ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบและการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ (4Cs) และสมรรถนะในการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพในวิชานวัตกรรมทางการพยาบาล. Journal of Information and Learning [JIL], 32(3), 14–24. https://doi.org/10.14456/jil.2021.20
บท
บทความวิจัย

References

Archibald, D., Trumpower, D., & MacDonald, C. J. (2014). Validation of the interprofessional collaborative competency attainment survey (ICCAS). Journal of Interprofessional Care, 28(6), 553-558. doi: 10.3109/13561820.2014.917407

Carroll, N., Richardson, I., Moloney, M., & O'Reilly, P. (2017). Bridging healthcare education and technology solution development through experiential innovation. Health and Technology, 8, 255-261. doi: 10.1007/s12553-017-0209-z

Chiruguru, S. B. (2020). The essential skills of 21st century classroom (4Cs). Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/340066140_The_Essential_Skills_of_21st_Century_Classroom_4Cs

Dow, A. W., Zhu, X., Sewell, D., Banas, C. A., Mishra, V., & Tu, S. P. (2017). Teamwork on the rocks: Rethinking interprofessional practice as networking. J Interprof Care, 31(6), 677-678. doi:10.1080/13561820.2017.1344048

Ganjitsuda, K., Tagawa, M., Saiki, T., Kikukawa, M., Takamura, A., Okazaki, H., ... & Tomihara, K. (2020). Transprofessional clinical practice improves medical students’ attitudes towards team collaboration. Research Square. doi: 10.21203/rs.3.rs-44279/v1

Gilbert, J. H. V., Yan, J., & Hoffman, S. J. (2010). A WHO report: Framework for action on professional education and collaborative practice. Journal of Allied Health, 39(3, Pt2), 196-197.

Goto, R., & Haruta, J. (2020). The process of interprofessional collaboration: How caregivers integrated the perspectives of rehabilitation through working with a physical therapist. Family Medicine and Community Health, 8(4), e000378. doi:10.1136/fmch-2020-000378

Haruta, J., Kitamura, K., & Nishigori, H. (2017). How do healthcare professionals and lay people learn interactively? A case of transprofessional education. The Asia Pacific Scholar, 2(3), 1-7.

Israsena, P., & Treeratanaphan, C. (2018). Design thinking learning by doing. Bangkok: TCDC.

Ohta, R., Ryu, Y., & Otani, J. (2020). Rural physicians' perceptions about the challenges of participating in interprofessional collaboration: Insights from a focus group study. Journal of Interprofessional Education & Practice, 20, 1-11.

Reeves, S., Lewin, S., Espin, S., & Zwarenstein, M. (2010). Interprofessional teamwork in health and social care. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/273794153_Interprofessional_Teamwork_in_Health_and_Social_Care

Songmuang, J., & Tohtayong, A. (2021). Guidelines for the application of design thinking approachto the change of educational institutions. Journal of Information and Learning, 32(1), 52-57.

Tanglakmankhong, K., Khammathit, A., Thammawongsa, N., & Ardpara, A. (2019). The effectiveness of the nursing innovation course, Using interprofessional education approach on readiness for interprofessional skill and the 21st century skill. The southern College Network Jouranl of Nursing and Public Health, 6(2), 126-139.

Thanormchayathawat, B., Vanitsuppavong, P., Niemted, W., & Portjanatanti, N. (2016). 21st century skills: A challenge for student development. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(2), 208-222.

Turner, K., Leungratanamart, L., Niranrat, S., Jarnarerux, J., Wattanakul, B., & Reunreang, T. (2015). Twenty first century skills of nursing students of Boromarajonani College of Nursing, Chonburi. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 25(2), 178-193.

Worasuk, N., Piyapadundkit, S., & Siripipattanakul, S. (2020). Effectiveness of inter-professional education to collaborative competency of inter-professional practice and happiness of undergraduate students. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 30(3), 50-61.