การพัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ชาญชัย ศุภอรรถกร
ศุภรักษ์ หอมเงิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ 2) ประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธี Normalized gain ของแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ วิธีดำเนินการวิจัยตามหลักกระบวนการของวงจรการพัฒนาระบบแบ่งเป็น 5 ระยะ เครื่องมือในการพัฒนาประกอบด้วย โปรแกรม Autodesk Maya โปรแกรม Street View Download 360 โปรแกรม Vuforia โปรแกรม Adobe Audition CC และปลั๊กอิน Lean touch


ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดล 3 มิติจำนวน 8 โมเดล ได้แก่ ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ องค์ประกอบของปราสาท ทับหลังปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ ถ้ำเงิน ถ้ำทอง ฆ้องใหญ่ รำเพลงพื้นบ้าน และพระพุทธรูปปางนาคปรก 2) การประเมินผลแอปพลิเคชันแบ่งเป็นการประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ Normalized gain ได้ค่าเท่ากับ 0.44 อยู่ในระดับ Medium gain และ 3) การประเมินผลความพึงพอใจจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.64 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52 และการประเมินผลความพึงพอใจจากผู้ใช้ จำนวน 10 คน ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.33 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.67 จากผลการวิจัยนี้ทำให้ได้ตัวต้นแบบของแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววัดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลสถาปัตยกรรมหรือโบราณสถานอื่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เช่นกัน

Article Details

How to Cite
ศุภอรรถกร ช., & หอมเงิน ศ. (2022). การพัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ. Journal of Information and Learning, 33(2), 57–69. https://doi.org/10.14456/jil.2022.18
บท
บทความวิจัย

References

Charoenroop, N. (2017). Applications of augmented reality to present tourist information: A case study of Phrakaew Temple, Chiangrai province, Thailand. Journal of Modern Management Science, 10(1), 13-30.

Hosch, W. L. (2021, September 10). Augmented reality computer science. Britannica. https://www.britannica.com/technology/augmented-reality

Jiri, K., & Pavla, S. (2016). Using augmented reality as a medium for teaching history and tourism. Procedia-Social and Behavioral Science, 174, 926-931.

Liu, D. (2016, November). Combined with augmented reality navigation applications in the library [Conference session]. The IEEE International Conference on Advanced Materials for Science and Engineering. Tainan: Taiwan.

Ngamchindavongse, K., Busayarat, C., & Arpornwicharnop, K. (2019). Designing illustration system for archeological information by augmented reality: A case of Prasat Khao Lon, Sakaew. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 16(2), 13-29.

Richard, H. (1998) Interactive-engagement versus traditional methods: A six-thousand-student survey of mechanics test data for introductory physics courses. American Journal of Physics, 66(1), 64-74.

Sanni, S. (2012). Theory and applications of marker-based augmented reality. Julkaisija-Utgivare.

Seidametova, Z., Abduramanov, Z., & Seydametov, G. (2021, May). Using augmented reality for architecture artifacts visualizations [Conference session]. International Workshop on Augmented Reality in Education. Kryvyi Rih, Ukraine.

Sripramai, A., & Limpinan, P. (2017, April). Development of augmented reality to promote tourism Mahathat Sukhothai Temple [Conference session]. The 5th ASEAN Conference in Computing. Phitsanulok, Thailand.

Steve, A. (2021, September 27). Practical augmented reality. Pearson Education. Vanichbuncha, K. (2021). Advanced statistics with SPSS for windows. Chula Book Center.

Wat Sa Kamphaeng Yai Castle. (2021, September 24). Wikimedia commons. https://commons.wikimedia.org/w/index.php?search=ปราสาทหินวัดสระกำแพงใหญ่&title=Special:MediaSearch&go=Go