ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบริโภคสีเขียว ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบริโภคสีเขียวก่อนและหลังที่การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบริโภคสีเขียวที่การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับด้านกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) ประเมินทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นในการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 509 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการบริโภคสีเขียว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบริโภคสีเขียว แบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน one-sample t-test และ dependent t-test
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบริโภคสีเขียวที่จัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับด้านหลังเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบริโภคสีเขียวที่จัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับด้านสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักศึกษาอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 78.39 ผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับด้านอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Barak, M., & Dori, Y. J. (2005). Enhancing undergraduate students’ chemistry understanding through project-based learning in an IT environment. Science Education, 89(1),117-139. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1002/sce.20027
Billig, S. (2000). Research on K-12 school-based service-learning: The evidence builds. PhiDeltaKappan, 81(9), 658-664. https://digitalcommons.unomaha.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1003&context=slcek12
Condliffe, B., Quint, J., Visher, M. G., Bangser, M. R., Drohojowska, S., Saco, L., & Nelson, E. (2017). Project-based learning a literature review. Education Resources Information Center. https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED578933.pdf
Duangnim, A., Napapongs, W., Kaosaiyaporn, O., Tansakul, J., & Inkaew, C. (2021). Development of massive open online learning environments to promote self-directed learning based on constructivist approach. Journal of Information and Learning, 32(3), 1-13. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/252571
Gerdtham, C. (2004). Project-based teaching techniques. Childen’ Club, Thailand.
Khattiyaman, W., (2003). Presentation of selected teaching practices according to actual conditions incurriculum subjects and general teaching [Doctoral dissertation, Chulalongkorn University]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65796
Marzano, R. J., Pickering, D. J., & Pollock, J. E. (2001). Classroom instruction that works: Research-based strategies for increasing student achievement. Assn for Supervision & Curriculum.
Nungchalerm, P. (2015). 21st century learning in science. Journal of Rangsit University & Learning, 9(1), 136-154. https://jrtl.rsu.ac.th/files/issues/V9N1/20150310124651.pdf
Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). The twelfth national economic and social development plan (2017-2021). Office of the National Economic and Social Development Council. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9640
Panich, V. (2012). Withī sā ngō̜kān rīanrū phư̄a sit nai satawat thī 21 [Ways to create learning for students in the 21st century]. Sodsri-Saridwong Foundation.
Panich, V. (2013). Khrū phư̄a sit sāngha ʻong rīan klap thāng [Teachers for students create a flipped classroom] (2nd ed.). S.R. Printing Mass Products Company.
Pheturai, W. (2013). Achievement of flipped classroom in physical properties of rubber and polymer for undergraduate student in rubber and polymer technology program. Maejo University.
Sutthirat, C. (2016). 80 nawattakam kānčhatkān rīanrū thī nēn phū rīan pen samkhan [80 Innovations in learning management that emphasizes student focus] (7th ed.). Chulalongkorn University.
Thammaariyasakun, P., Napapongs, W., Tansakul, J., & Inkaew, C. (2023). Synthesis of a cirtual learning environment model with engineering design process to enhance students’ creative thinking skills. Journal of Information and Learning, 34(2), 1-15. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/262771
The Commission on Higher Education Standards Committee. (2022). Kēn māttrathān laksūt radap parinyā trī Phō̜.Sō̜. 2565 [Undergraduate Program Standard Criteria 2022]. https://www.ops.go.th/th/ches-downloads/edu-standard/download/1081/6942/16