แนวคิดการพัฒนากรอบหลักสูตรอิงทุนชุมชนเป็นฐานระดับสถานศึกษาสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอแนวคิดการพัฒนากรอบหลักสูตรอิงทุนชุมชนเป็นฐานระดับสถานศึกษาเพื่อใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยบูรณาการแนวคิดกรอบหลักสูตรและกรอบทุนชุมชน 7 ประเภท ได้แก่ ทุนธรรมชาติ ทุนวัฒนธรรม ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนการเมือง ทุนการเงิน และทุนสิ่งก่อสร้าง โดยที่กรอบหลักสูตรนี้ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) เป้าหมาย แสดงสิ่งที่ต้องดำเนินการในภาพรวม 2) วัตถุประสงค์ เป็นแนวทางการดำเนินการตามเป้าหมาย 3) แนวทางการจัดการเรียนรู้ เป็นกรอบแนวทางในการจัดการเรียนรู้ 4) แนวทางการวัดและประเมินผล และ 5) กรอบทุนชุมชน ซึ่งเป็นกรอบทุน 7 กรอบที่ใช้จัดกลุ่มโมดูลการเรียนรู้ แนวทางการพัฒนากรอบหลักสูตรมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากรอบหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การนำกรอบหลักสูตรไปใช้ และขั้นตอนที่ 4 การติดตามและการประเมินการใช้กรอบหลักสูตร การนำกรอบหลักสูตรไปใช้ช่วยให้การเรียนรู้เชื่อมโยงกับบริบทท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์และพัฒนาทุนชุมชนอย่างยั่งยืน ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) การนำแนวคิดไปใช้พัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นโดยหน่วยงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา 2) การพัฒนากรอบหลักสูตรและคู่มือเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ 3) การพัฒนาสถานศึกษาเป็นต้นแบบศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมการศึกษาจากฐานถิ่น และ 4) การนำหลักสูตรที่ประสบความสำเร็จให้ชุมชนเรียนรู้เพื่อสร้างอาชีพและแก้ไขปัญหาในชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Borron, A., Lamm, K. W., & Atkins, K. (2020). The development and validation of a personal agency scale based in the community capitals framework. Journal of International Agricultural and Extension Education, 27(3), 43-58. https://doi.org/10.5191/jiaee.2020.27343
Duangjaidee, W. (2020). Essential techniques for effective curriculum management. Journal of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, 31(1), 16-27. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/213936
Duangjaidee, W. (2022). Khūmư̄ kān nam krō̜p laksūt Pattani Heritage Paichai nai sāthān suksā [Guidelines for implementing the Patani heritage curriculum framework in schools]. Prince of Songkla University.
Emery, M., & Flora, C. (2006). Spiraling-up: Mapping community transformation with community capitals framework. Community Development, 37(1), 19-35. https://doi.org/10.1080/15575330609490152
Fauziddin, M., Suryanti, S., & Wiryanto, W. (2022). Community-based education and regional culture, Has it been put into practice? Al-Ishlah: Jurnal Pendidikan, 14(2), 1069-1078. https://doi.org/10.35445/alishlah.v14i2.2067
International Bureau of Education. (2017). Developing and implementing curriculum frameworks. UNESCO. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000250052
Johnson, M., Fitzsimons, S., & Coleman, V. (2023). Development challenges in challenging contexts: A 3-stage curriculum framework design approach for Education in Emergencies. Prospects, 53, 43-56. https://doi.org/10.1007/s11125-022-09601-0
National Steering Committee for National Curriculum Frameworks. (2023). National curriculum framework for school education. Ministry of Education, Government of India. https://www.education.gov.in/sites/upload_files/mhrd/files/NCF-School-Education-Pre-Draft.pdf
Office of Pattani Primary Educational Service Area 1. (2022). Krō̜p laksūt thō̜ngthin [Local curriculum framework]. Office of Pattani Primary Educational Service Area 1.
Office of the Basic Education Commission. (2010). Guidelines for developing school curriculum. Ministry of Education.
Pasiechnyk, C. L. (2018). Place-based education: Improving learning while connecting students to community and environment [Master's project, University of Victoria]. http://hdl.handle.net/1828/9239
Rwanda Education Board. (2020). Competence-based curriculum: Summary of curriculum framework for teacher training colleges. https://elearning.reb.rw/mod/folder/view.php?id=5674
Taylor, R., Van Leuven, A. J., & Robinson, S. (2023). The role of community capital in rural renewal. Local Development & Society, 1-20. https://doi.org/10.1080/26883597.2023.2258453
The Centre for Social Justice. (2019). Community capital: How purposeful participation empowers humans to flourish. https://www.centreforsocialjustice.org.uk/wp-content/uploads/2020/01/CSJ-Community-Capital-Report-final-version.pdf
Yemini, M., Engel, L., & Ben Simon, A. (2023). Place-based education–a systematic review of literature. Educational Review, 1-21. https://doi.org/10.1080/00131911.2023.2177260