พฤติกรรมการอ่าน และความพึงพอใจ ของผู้อ่านนิตยสารประเภทการเมือง ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ตรัยรัตน์ ปลื้มปิติชัยกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอ่านและความพึงพอใจที่มีต่อนิตยสารประเภทการเมืองของผู้อ่านในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการอ่านนิตยสารของผู้อ่านนิตยสารประเภทการเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร       3) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรกับความพึงพอใจที่มีต่อนิตยสารประเภทการเมืองของผู้อ่านในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบเก็บข้อมูลครั้งเดียว โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล มุ่งศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้อ่านที่มีความสนใจข่าวสารทางการเมืองที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยเป็นดังนี้ เพศชายมีความสนใจอ่านนิตยสารประเภทการเมืองมากกว่าเพศหญิงในสัดส่วนที่ห่างกันไม่มากนัก โดยผู้อ่านส่วนใหญ่มีอายุ 41-50 ปี และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 -30,000 บาท ต่อเดือน มีระดับการอ่านมากที่สุดสะท้อนให้เห็น 2 มิติ คือเป็นกลุ่มที่มีกำลังทรัพย์ในการซื้อนิตยสาร และมีพฤติกรรมที่จะได้รับความพึงพอใจในข้อมูลข่าวสารและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวทางการเมืองจากการบริโภคเป็นอย่างมาก ส่วนพฤติกรรมการอ่านนิตยสารประเภทการเมืองผู้อ่านนิตยสารมติชนและ นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ มีระดับการอ่านมากที่สุดเท่า ๆ กัน และใช้ระยะเวลาในการอ่านประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง และพบว่า ผู้อ่านเลือกอ่านในที่ทำงานมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติมณฑน์ พรหมรัตน์. (2551). ความพึงพอใจและการใช๎ประโยชน์ของผู้อ่านนิตยสารคู่สร้างคู่สม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

จิตตนาถ ลิ้มทองกุล. (2547). ความพึงพอใจและการใช๎ประโยชน์จากนิตยสารมาร์ส. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ธรรมยุทธ์ จันทร์ทิพย์ และดวงลาภ เปี่ยมอยู่สุข. (2555). พัฒนาการและแนวโน้มของนิตยสารในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ. Executive Journal.

พลอยนวล พันธุมวานิช. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดรับและความพึงพอใจนิตยสาร a day. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคาแหง).

พีระ จิระโสภณ. (2547). การใช้ประโยชน์และการสนองความพึงพอใจจากสื่อมวลชน ใน ทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร (หน่วยที่ 11). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุจิต บุญบงการ และ พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2527). พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคนไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.