ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ธีรพงศ์ บุญญรัตน์
รุ่งนภา กิตติลาภ
รัชดา ภักดียิ่ง

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป  แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างได้แก่พนักงานธนาคารออมสิน จำนวน 92 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  มีอายุต่ำกว่า 25 ปี  สถานภาพสมรส  การศึกษาระดับปริญญาตรี  ระยะเวลาในการทำงาน 5-10 ปี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับ 4-6  มีอัตราเงินเดือนระหว่าง 12,000 -15,000 บาท  สภาพทั่วไปในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินโดยรวมอยู่ในระดับมาก  ในด้านลักษณะงาน รองลงมาเป็น ด้านความมีอิสระในการทำงาน  และด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก  ทุกด้าน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  พบว่ามี 11 ปัจจัย  ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ ด้านความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น  รองลงมาเป็นปัจจัย ด้านความเท่าเทียม  ด้านเพื่อนร่วมงาน ด้านค่าตอบแทนและล่วงเวลา ด้านระเบียบปฏิบัติ  ด้านลักษณะการปฏิบัติงาน  ด้านความร่วมมือ ด้านความเสมอภาคของผู้บังคับบัญชา ด้านความเป็นส่วนตัว  ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน  ด้านการเลื่อนขั้นตำแหน่ง ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
บุญญรัตน์ ธ., กิตติลาภ ร., & ภักดียิ่ง ร. (2019). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(2), 107–117. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/213343
บท
บทความวิจัย

References

ชูเกียรติ ยิ้มพวง. (2554). แรงจูงใจที่มีผลต่อกี่ปฏิบัติงานกรณีศึกษาบริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด โรงงาน จังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชัด นกอยู่. (2554). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม: กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

นราศรี ไววนิชกุล. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ณรงค์ ศรีเกรียงทอง และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการสร้างประสิทธิผลในงานขายของพนักงานที่ปรึกษางานขาย (PC) และพนักงานที่ปรึกษาความงาม (BA) ของบริษัทโมเดิร์นคาสอินเตอร์เนชั่นเนลคอสเมติกส์ จำกัด. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีรยุทธ วาณิชกมลนันทน์ และผู้แต่งคนอื่นๆ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ พนักงานบริษัทสยามกลาสอินดัสทรี จำกัด โรงงานอยุธยา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : ม.ป.ท.

สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2540). การจัดโครงสร้างส่วนราชการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.

สุทธิชัย ศรีศิริโชคชัย. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน กรณีศึกษา : พนักงานระดับ ปฏิบัติการ (Officer) หน่วยงานบริหารสินเชื่อพิเศษ ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งหนึ่ง. Nation University : ม.ป.ท.

ธนาคารออมสิน. (2560). ข้อมูลทะเบียนบุคลากรธนาคารออมสินขอนแก่น. ขอนแก่น : ธนาคารออมสิน สาขาขอนแก่น.

Likert, Rensis A. 1961. New Patterns of Management. New York : McGraw-Hill Book Company Inc.