รัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ภายใต้บริบทของญาณวิทยา

Main Article Content

กิตติพงษ์ พิพิธกุล

บทคัดย่อ

          สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการบทความวิชาการนี้ มุ่งที่จะหาคำตอบที่ว่ารัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ภายใต้บริบทของภาณวิทยาจากการวิเคราะห์เอกสาร พบว่า ญาณวิทยาคือ แหล่งที่มาแห่งความรู้ ซึ่งบางแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ มาจากการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ หรือที่เรียกว่าปฏิฐานนิยม เช่น การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ แนวคิดระบบราชการ และทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ เป็นต้น ที่เกิดในยุคพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อมุ่งสร้างทฤษฎีและกฎในการอธิบายและทำนายปรากฏการณ์บริหารงานภาครัฐ แต่เมื่อถึงยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้ถูกโต้แย้งจากนักวิชาการบางกลุ่มว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางสังคมได้ จึงรวมตัวกันแสวงหาทางออกให้แก่แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ ผลที่ได้คือ การศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ไม่สามารถแยกผู้ศึกษาออกจากสิ่งที่ถูกศึกษาได้ (ความจริงกับค่านิยมไม่สามารถแยกออกจากกันได้) ดังนั้นจึงนำแนวคิดการแสวงหาความรู้แบบปรากฏการณ์นิยม มาเป็นแนวทางในการศึกษาแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ ตัวอย่างของแนวคิดนี้ ได้แก่ นโยบายสาธารณะ ทางเลือกสาธารณะ และการจัดการภาครัฐ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2561). การเลือกใช้สถิติขั้นสูงสำหรับการทางรัฐประศาสนศาสนศาสตร์: กรณีศึกษาสมการโครงสร้าง. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(1), 93-993.

กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์.เอกสารประกอบการสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. เลย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยจังหวัดเลย.

จิดาภา ถืร์ศิริกุล. (2552). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา ขอบข่ายการศึกษาและวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์หน่วยที่ 5. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จีระ ประทีป. (2561). แนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ยุคบุกเบิกและยุคคลาสสิก. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จุมพล หนิมพานิช. (2562). ตัวแบบ / กระบวนทัศน์ รัฐประศาสนศาสตร์ จากรัฐประศาสนศาสตร์แบบดั้งเดิมสู่การบริหารการปกครองสำหรับการทำวิจัยและการอธิบายปรากฏการณ์ทางการบริหารในภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ : คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนพลับลิชชิ่ง.

ไชยรัตน์ เจริญศิลป์โอฬาร. (2555). การแสวงหาความรู้กับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา หลักและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เทียนฉาย กีรนันท์. (2544). สังคมศาสตร์การวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงนภัส เที่ยงกมล. (2554). การวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม Holistically Integrative Research (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภดล อุดวิศวกุล. (2559). แนวคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา ขอบข่ายการศึกษาและวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์หน่วยที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บวรเดช จันทรศร. (2547). ขอบข่ายของรัฐประศาสนศาสตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บูรณจิตร แก้วศรีมล. (2559). การแสวงหาและปรัชญาแห่งความรู้ของกลุ่มปทัสถานและปฏิฐานนิยม มรดกทางปัญญาจากการถกเถียงกันของ Dwight Waldo และ Herbert A. Simon. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 35(1), 146-154.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกุล และสภาพ ฉัตราภรณ์. (2555). การออกแบบการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2559). ทฤษฎีองค์การขั้นสูง (Advance Organization Theory): เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

พิทยา บวรวัฒนา. (2547). ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา หลักและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 5. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรเดช จันทศร ปฐม มณีโรจน์ และเสน่ห์ จุ้ยโต. (2559). พัฒนาการขอบข่ายและ สถานภาพของรัฐประศาสนศาสตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาขอบข่ายการศึกษาและวิจัยทางรัฐประศาสตร์หน่วยที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2549). แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ การประยุกต์ และการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฟร์เพช.

สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2548). หลักรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: จงเจริญการพิมพ์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2551). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทัย เลาหวิเชียร. (2545). รัฐประศาสนศาสตร์ : ลักษณะวิชาและมิติต่างๆ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อุทัย เลาหวิเชียร. (2547). ความหมาย วิวัฒนาการ สถานภาพและแนวโน้มทางรัฐประศาสนศาสตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา หลักและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.