ภาวะผู้นำทางวิชาการและพุทธวิธีในการจัดการศึกษา

Main Article Content

ครรชิต ชัยกิจ
ละเอียด จงกลนี
จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์

บทคัดย่อ

          ผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา (Instructional Leadership) มีบทบาทสำคัญที่ส่งผลต่อการบริหารการจัดการเรียนรู้และการสอนในสถานศึกษาโดยตรงนั้น เป็นเงื่อนไขของปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติของโรงเรียนมีความคาดหวังสูงต่อผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้น (Larson, 2006) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ (Hopkins, 2001) และพบว่าองค์ประกอบความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์และเป็นตัวทำนายความมีประสิทธิผลของโรงเรียน (Buzzi, 1991) และต้องนำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวเนื่องกับทางจริยธรรมของภาวะผู้นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนพัฒนาคน พัฒนางาน โดยเฉพาะการสร้างสัมพันธภาพระหว่าง ภาวะผู้นำกับภาวะผู้ตามที่มีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร ทำให้เห็นว่าองค์กรจะเกิดความเปลี่ยนแปลงได้จะต้องเชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับสภาวะแวดล้อมทางสังคม สามารถวิเคราะห์ปัญหาและแนวโน้มทางการศึกษาของไทยได้อย่างชัดเจน มีความเป็นผู้นำ ในด้านการปฏิรูปการศึกษา เป็นผู้นำทางวิชาการและเป็นผู้นำในการบริหาร มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีภูมิรู้ทางการบริหาร มีความรู้ในหลักการบริหาร เทคนิคทางการบริหาร และการวางแผนกลยุทธ์ ตลอดจนสามารถนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้เพื่อให้การบริหารการจัดการศึกษาสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด อีกทั้งต้องมีความสามารถในการใช้ศาสตร์และศิลป์ มีทักษะด้านคตินิยม ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ ทักษะด้านเทคนิควิธี มีความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคล เงิน วัสดุครุภัณฑ์และอาคารสถานที่ ตลอดจนมีความสามารถในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้งในสถานศึกษาและในชุมชนมาพัฒนาการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ภายในสถาบันการศึกษาให้ประสบความสำเร็จสู่ความเป็นเลิศ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชฎากาญจน์ เจริญชนม์. (2553). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, หาวิทยาลัยขอนแก่น).

ดำรง สุ่มสังข์. (2551). การพัฒนาจริยธรรมตามหลักไตรสิกขา: ศึกษาเฉพาะกรณีค่ายสรรพสิทธิ์ประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. (สารนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

ปัญญา นันทภิกขุ. (2561). ชีวิต การทำงาน หลักธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระธรรมปิฎก. (ป.อ. ปยุตโต). (2539). การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก. (ป.อ. ปยุตโต). (2542). ธรรมกับไทย ในสถานการณ์ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์. (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ: ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระมนัส ธมฺมรโต (มณี). (2554). ศึกษาวิธีสร้างแรงจูงใจจากพุทธวิธีการสอน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2555). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น).

พุทธทาส ภิกขุ. (2512). จริยธรรมของบัณฑิต. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา

พุทธทาส ภิกขุ. (2535). ชุมนุมปาฐากถา ชุด พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ

ไพฑูรย์ เริงกมล. (2541). การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ผู้บริหารควรตระหนัก. กรุงเทพฯ: พัฒนาการศึกษา.

ไพเราะ พัตตาสิงห์. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 2). ชลบุรี: สำนักพิมพ์มนตรี.

สมคิด กลับดี. (2549). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).

เอื้อนจิต พานทองวิริยะกุล และ สัญญา เคณาภูมิ. (2561). ภาวะผู้นํากับการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนให้ยั่งยืน.วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(1), 107-114.

Buzzi, M. (1991).The relationship of school effectiveness to selected dimension of principle’s instructional leadership in elementary school in the State of Connecticut.Dissertation Abstracts International, 51(12), 3167-A.

Davis, K. & Newstrom, J.W. (1989).Human behavior at work organizational behavior. New York: McGraw-Hill Book.

Girvan, N. (2001). Reinterpreting the Caribbean. In B. Meeks & F. Lindahl (Eds.). New Caribbean thought: A reader. Jamaica: University of the West Indies Press.

Hopkins, D. (2001). School Improvement for Real. London: RoutiedgeFalmer.

Larson, J. L. (2006). Subjective fatigue, influencing variable, and consequences in chronic obstructive pulmonary disease.Nursing Research, 55(1), 10-17.

McEwan, E. K. (2003). Seven steps to effective instructional leadership. California: Corwin Press.