การพัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี 2) ศึกษาผลของบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือของวิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เรียนในด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 100 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 50 คน ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น และกลุ่มที่ใช้ทดสอบประสิทธิผลของบทเรียนบนเว็บ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มมีความสัมพันธ์กัน     
          ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (83.15/81.33) และมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 6 องค์ประกอบได้แก่ (1) สถานการณ์ปัญหาและภารกิจการเรียนรู้ (2) แหล่งทรัพยากรความรู้ (3) ศูนย์ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (4) สถานีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (5) คลังอาวุธทางปัญญาและ (6) ศูนย์การช่วยเหลือ 2) นักศึกษามีพัฒนาการของทักษะทางด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา โทขันธ์, สนิท ตีเมืองซ้าย และอภิดา รุณวาทย์. (2562). บทเรียนบนเว็บแบบซินเนคติกส์ร่วมกับ เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 13(2), 93-102.

เกศสุมณฑ์ สาหับ. (2556). ผลของบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อการคิด วิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

จิราวรรณ พาชอบ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อ พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2546). การผลิตชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.

ฐานเศรษฐกิจ. (2562). บัณฑิตตกลงานปัญหาเร่งด่วนในตลาดแรงงานไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562, จาก http://thansettakij.com/content/415736

ฐารรรฎร เกรัมย์, สนิท ตีเมืองซ้าย และ พงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์. (2562). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(3), 65-76.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งทึ่7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุตรี เวทพิเชฐโกศล. (2560). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยบูรณาการเข้ากับประสาทวิทยาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยชอนแก่น).

ปภิชญา เรืองโค, สนิท ตีเมืองซ้าย และ อภิดา รุณวาทย์. (2562). บทเรียนบนเว็บโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติ ของซิมซันเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(2), 133-142.

พวงทอง เพชรโทน. (2555). การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมทักษะ ทางปัญญาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

พิชญารัศม์ สิงหะ. (2561). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาโดย บูรณาการระหว่างศาสตร์การสอนกับศาสตร์ทางประสาทวิทยาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

มุนี กุลชาติ, ทรงศักดิ์ สองสนิท และ สนิท ตีเมืองซ้าย. (2561) การพัฒนาบทเรียนบนเว็บแบบทีมแข่งขันที่มีการช่วยเสริมศักยภาพทางการเรียน เรื่อง การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12(1), 423-432.

วันวิสาข์ วรรณพิพัฒน์. (2560). การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ทางสมองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานที่บูรณาการกับประสาทวิทยาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2554). ผลของการใช้บทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน เรื่อง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ศันสนี ฉัตรคุปต์ และอุษา ชูชาติ. (2544). ฝึกสมองให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

สมศักดิ์ ภู่วิดาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: The Knowledge Center.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) (2561). บทวิเคราะห์อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และด้านการศึกษา ประจำปี 2561. สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2562, จาก http://stiic.sti.or.th/wp-content

สุชาติ วัฒนชัย และคณะ. (2550). การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิด. รายงานการวิจัยโครงการวิจัยประเภทอุดหนุนทั่วไปมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2559). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ (Instructional Design: Principles and Theories to Practices (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อิศรา ก้านจักร. (2559). พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา (Foundation of Educational Technology) (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Cone, D. (2000). The World of Tomorrow. Journal of Family and Consumer Sciences, 92(3), 46.

Decaroli , J.(1973) What Research Say to the Classroom Teacher : Critical Thinking. Social Education, 37, 67–69.

Diestler, S. (1998). Becoming a Critical Thinker. New Jersey: Prentice-Hall. Dressel, P.L.; & Mayhew, L.B. (1957).

General Education: Explorations in Evaluation (2nd ed). Washington, D.C.: American Council on Education.

Driscoll, M. (1997). Defining internet-based and Web-based Training. Performance Improvement, 36(4), 5-9.

Ennis, H R. (1990). The Extent to Which Critical Thinking Skill. Educational Researcher. 19 (4): 13-16.

Facione, P A., and Facione, N C. (1998). Critical Thinking: Conceptual Definition, Critical Thinking: Assessment ideas. Millbrae: California Academic Press.

Hannafin, M., Land, S., and Oliver, K. (1999). Open Learning Environments: Foundations, Methods, and Models In Reigeluth, C.M.(Ed.), Instructional Design Theories and Models (pp. 115-140). Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Johnson, D W., and Johnson, R T. (1994). Learning Together and Alone: Cooperative. Prentice HallInternational Edition.

Khan, B. H. (1997). Web – based Instruction. New Jersey: Educational Technology Publications.

Salomon, G. (1974). What is learned and how it is taught’ The interaction between media, message, task and learner. In D. Olson (Ed.), Media and symbols: The forms of expression, communication, and education (pp. 383-408). Chicago: University of Chicago.

Slavin, R E. (2006). Educational Psychology Theory and Practice (8th cd). New York: Pearson Education, Inc.

Watson, G and Glazer Z E.M. (1964). Watson – Glaser Critical Thinking Appraisal Manual. New York: Brace and World Inc.