การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด“ดอกไม้บานที่บ้านบาละ” เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน เชิงวิเคราะห์โดยใช้เทคนิค SQ10R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติมชุด “ดอกไม้บานที่บ้าน บาละ” ศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการอ่านโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด “ดอกไม้บานที่บ้านบาละ” ร่วมกับเทคนิค SQ10R และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด “ดอกไม้บานที่บ้านบาละ” กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 ของโรงเรียนบ้านบาละ อำเภอ กาบัง จังหวัดยะลา ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 2 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด “ดอกไม้บานที่บ้านบาละ” ที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ประกอบด้วย 5 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เพื่อนใหม่ ตอนที่ 2 ตาแสงนักเล่าเรื่อง ตอนที่ 3 คืนฝนตก ตอนที่ 4 นิทานของยาย ตอนที่ 5 ดอกไม้บานที่บ้านบาละ มีคุณภาพระดับดีมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.78/83.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6 หลังใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมชุด “ดอกไม้บานที่บ้าน บาละ” ร่วมกับเทคนิค SQ10R สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจในการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด “ดอกไม้บานที่บ้านบาละ” ในระดับดีมาก
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย : ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2555. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
จินตนา ใบกาซูยี. (2542). การจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จินตนา ใบกาซูยี. (2544). การเขียนหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เจนวิทย์ อุสสวิโร. (2548). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง สโตยสู่สตูล ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 3 จังหวัดสตูล. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
ฉันทนา โพธิอยู่. (2557). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องสำนวน สุภาษิตและคำพังเพย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2547). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นรินทร์ สังข์รักษา. (2552). การจัดการความรู้ : ฐานความรู้สู่สังคมธรรมานุภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 7(2) ,19-28.
รัญจวน อินทรกำแหง. (2520). การเลือกหนังสือ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รามคำแหง.
วัณจินต์ ทองเกลียวทวี. (2556). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง ของดีเมืองสวรรคบุรีเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).
วันเพ็ญ นามเมืองรักษ์. (2554). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องสกลนครบ้านเกิด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองหอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วีณา วีสเพ็ญ. (2535). การสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2555). สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้: ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส, สตูล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
เอกรัตน์ ศักดิ์เพชร. (2545). ผลการเรียนรู้และความชอบจากหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง ไข่เค็ม ที่ใช้ตัวการ์ตูนหนังตะลุงและตัวการ์ตูนทั่วไป. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
อุมาพร พันธะไชย. (2553). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาไทยเรื่องข้าวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์บางเขน กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
Shaughnessy, Michael F. (1996). SQ10R. Research and Teaching in Developmental Education, 13(1), 97-99.