รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดภูมิภาคในประเทศไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ ปัญญโรจน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดภูมิภาคในประเทศไทย  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ชุดภูมิภาคในประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดภูมิภาคในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุกูล) สังกัดเทศบาลเมืองพะเยา จำนวน  30 คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{X} ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา Content  Analysis) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดภูมิภาคในประเทศมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ  88.98/89.28 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดภูมิภาคในประเทศอยู่ในระดับมากที่สุด( gif.latex?\bar{X} = 4.57 , S.D.= 0.09).

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ . (2540). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษากับการสอนระดับอนุบาล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ชุลีพร กอบกำ. (2554). การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องการผลิตสินค้าและบริการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ณัฐกมล วัชรวงษ์ทวี. (2556). การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป สาระภูมิศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตวิทยาลัยครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา ,สงกรานต์ จันทะปัสสา และ นงลักษณ์ พิมพ์ศรี. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 42-53.

พระมหาอภิพงค์ ภูริวฑฺฒโน (คําหงษา), สมปอง สุวรรณภูมา และ สมชัย ศรีนอก. (2560). พัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องหลักธรรมในวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารครุปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 5(1) ,28-40.

โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุกูล). (2560). สรุปผลการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุกูล) ปีการศึกษา2560. พะเยา: โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุกูล).

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 9119 เทนนิคพริ้นติง.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2547). การสร้างสื่อการสอน และนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาผู้เรียน. ราชบุรี: บริษัทธรรมรักษ์การพิมพ์.

สุภาพร บุญหนัก. (2544). การพัฒนาชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยวิธีการแก้ปัญหาเรื่องความเท่ากันทุกประการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต(การมัธยมศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาวดี คะระนันท์. (2553). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2543). เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ที.พี.พริ้นท์.

อรทัย มูลคำ, สุวิทย์ มูลคำ, นุกูล คชฤทธิ์ และ นภดล เจนอักษร. (2542). การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Bloom, Benjamin S. (1976). Human Characteries and school Learning. New York: Mc Graw – Hill Book Company.

Meek , Elija Bruce. (1972). Learning packages versus Conventional method instruction. Dissertation abstracts international, 32(8), 4215 – A.